Page 193 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 193
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
และการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและ
มาตรการด้านสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรี ผู้พิการ การส่งเสริมสิทธิทางการศึกษา สาธารณสุข
และสวัสดิภาพแรงงาน ตลอดจนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการแสดงความเห็น
นอกจากการตอบรับข้อเสนอแนะ ประเทศไทยยังได้ให้คํามั่นโดยสมัครใจ (voluntary pledges) เพื่อ
ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนอีกจํานวน 7 ข้อ โดยหนึ่งในประเด็นสําคัญ คือ การไทยจะส่งเสริมหลักการ
สิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ โดยประเทศไทยจะมุ่งมั่นที่จะพัฒนา รับรองและบังคับใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติ
ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เป็นไปตามหลักการ UNGP ส่งผลให้เกิดการผลักดันการจัดทําแผนปฏิบัติ
การระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) ขึ้น
เพื่อให้การดําเนินการตามหลักการ UNGP และการกําหนดแนวทางจัดทํา ติดตามและประเมินผลตาม
แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) เป็นไปอย่างครบถ้วน สมบูรณ์และมี
13
ประสิทธิภาพ จึงได้มีคําสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ 557/2559 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดแนวทางจัดทํา
ติดตามและประเมินผลตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) โดยมีอธิบดี
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพนั่งเป็นประธาน และกําหนดให้ผู้แทนจากภาครัฐ กสม. ผู้แทนจากภาคเอกชน
ร่วมเป็นกรรมการ ตลอดจนให้มีผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) นั่งเป็นที่ปรึกษาของ
คณะกรรมการ ทั้งนี้ คณะกรรมการมีหน้าที่ 1) พิจารณากําหนดแนวทางในการจัดทําแผนปฏิบัติการระดับชาติ
ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) 2) รวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการจัดทํา ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมแผน NAP ให้สอดคล้องกับหลักการ UNGP
3) ส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ นําแผน NAP และหลักการ UNGP ไปปฏิบัติ 4) ติดตามและประเมินผลการ
ดําเนินการตามแผน NAP 5) ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการนําแผน NAP ไปปฏิบัติ รวมถึงการแก้ไข
หรือปรับปรุงแผน NAP 6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
และ 7) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ประธานกรรมการมอบหมาย
ภาคธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ
บทบาทของภาคธุรกิจที่เห็นได้ชัด คือ มีการรวมกลุ่มของภาคธุรกิจก่อตั้งโกลบอล คอมแพ็ก เน็ตเวิร์ก
ประเทศไทย Global Compact Network Thailand (GCNT) ขึ้น ซึ่งก่อตั้งโดย 15 องค์กรที่ตระหนักถึงการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเครือข่ายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจของไทยเข้าใจความสําคัญ
13
กระทรวงยุติธรรม. (2559). “คําสั่งที่ 557/2559 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดแนวทาง
จัดทํา ติดตาม และประเมินผลตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on
Business and Human Rights - NAP).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.moj.go.th/attachments/20170123110214_84693.pdf
4-46