Page 188 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 188
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ในส่วนของแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชนจะประกอบไปด้วย
การศึกษานิยามของการทรมาน ในประมวลกฎหมายอาญา การผลักดันการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการ
คุ้มครองบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์
ข้ามแดน การสนับสนุนกลไกให้ประชาชน/พยานเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม การมุ่งเน้นที่ปัญหา
การละเมิดสิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย การส่งเสริมการใช้ธรรมาภิบาลในการ
บริหารงานด้านกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและมาตรการลงโทษในรูปแบบอื่น
ที่นอกเหนือจากการลงโทษ และให้ความสําคัญกับการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้เสียหายให้เข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรม
11. แผนสิทธิมนุษยชนด้านความมั่นคงทางสังคม หมายถึงการสนับสนุนการวางหลักประกันใน
คุณภาพของชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพและรองรับต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยในแผนนี้จะมีส่วนที่
เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน คือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มด้อยโอกาส ได้แก่ เด็ก
สตรี คนพิการ ผู้ไร้ถิ่น ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรมในหลายๆ ด้าน นอกจากนี้ ประเด็น
หนึ่งที่มีความสําคัญคือ สิทธิของแรงงานนอกระบบ หรือแรงงานที่มีนายจ้างแบบไม่แน่นอน (freelance) ที่
ต้องพิจารณาถึงเรื่องสิทธิที่ชัดเจนและให้การคุ้มครองอย่างเหมาะสม
ในส่วนถัดไปจะเป็นการกําหนดแผนสิทธิมนุษยชนตามกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจําแนกออกเป็น 12 กลุ่ม
ดังนี้
12. แผนสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง ดูแลคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในกระบวนการยุติธรรม
ตามมาตรฐานสากล ทั้งที่กําหนดใน Universal Declaration of Human Rights ค.ศ. 1948 และใน
International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) โดยในกรณีของประเทศไทย จะพบ
ประเด็นปัญหาที่สําคัญ คือ ปัญหาผู้ต้องขังถูกทําร้ายขณะกําลังทําแผนเพื่อรับสารภาพ ปัญหาสภาพแวดล้อม
ในห้องขังและสวัสดิการสําหรับนักโทษหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษหญิงที่ตั้งครรภ์ ปัญหาความแออัดของ
เรือนจํา ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม และปัญหาการขาดประสิทธิผลในการจัดหาทนายความ
ภาครัฐให้กับผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน
13. แผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้พ้นโทษ อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการถูกละเมิดสิทธิโดยภาคธุรกิจ
หากภาคธุรกิจมีการกีดกันกลุ่มผู้พ้นโทษในการเข้าถึงบริการ การกีดกันการเข้ารับทํางาน หรือในด้านสิทธิอื่นๆ
14. แผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้ต้องหายาเสพติดและผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา
เสพติด จะเกี่ยวข้องกับการที่ภาครัฐปฏิบัติต่อผู้เสพยาเสพติดเหมือนผู้ป่วย ไม่ใช่อาชญากรและให้ผู้ต้องหาเข้า
รับการบําบัดรักษาแทนการรับโทษ แต่จะไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยตรง
15. แผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเหยื่อ/ผู้เสียหาย ได้คํานึงถึงประเด็นปัญหาการเข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรมเป็นหลัก ซึ่งประเด็นปัญหาที่สําคัญและมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ก็คือ ปัญหา
4-41