Page 187 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 187

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       5.   แผนสิทธิมนุษยชนด้านที่อยู่อาศัย มุ่งเน้นที่การตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ที่ด้อย

               โอกาสเป็นหลัก อย่างไรก็ดีในแผนสิทธิมนุษยชนในด้านนี้ยังมีการระบุถึงการให้ความสําคัญกับการคุ้มครอง

               สิทธิของประชาชนในการจัดซื้อที่อยู่อาศัยด้วย

                       6.   แผนสิทธิมนุษยชนด้านวัฒนธรรมและศาสนา มุ่งเน้นที่ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรม ซึ่ง

               เกิดขึ้นได้ใน 2  ลักษณะ คือ ความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมพื้นถิ่น (วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์) กับ

               การสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (วัฒนธรรมชาติ) และ ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมชาติ กับวัฒนธรรมของ
               ต่างชาติ ซึ่งในทั้งสองประเด็นดังกล่าว ภาคธุรกิจสามารถที่จะละเมิดสิทธิทางด้านวัฒนธรรมและศาสนาได้

               ตัวอย่างเช่น การโฆษณา และการสื่อสารเทคโนโลยีที่สนับสนุนการบริโภคอาหารขยะและสินค้าฟุ่มเฟือย ทําให้

               ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเลียนแบบไม่สามารถตัดสินใจบริโภคได้บนพื้นฐานที่ถูกต้อง (การละเมิดสิทธิผู้บริโภค)
               หรือการสนับสนุนให้นิยมสตรีผิวขาว ซึ่งเป็นการสร้างทัศนคติในแง่ลบต่อสตรีผิวสีอื่นๆ เป็นต้น


                       7.   แผนสิทธิมนุษยชนด้านข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งที่จะให้ประชาชน
               ได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเพียงพอ โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นๆ ในแผน

               สิทธิมนุษยชนในด้านนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนได้ในหลายลักษณะ ตัวอย่าง เช่น

               การนําเสนอข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และไม่ตรงความจริงทั้งจากภาคธุรกิจ หรือ จากสื่อ การคุกคามของภาคธุรกิจ
               ในการขายบริการทางโทรศัพท์ (เช่น ประกัน)


                       8.   แผนสิทธิมนุษยชนด้านการขนส่ง เป็นสิทธิใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในแผนฉบับนี้เป็นครั้งแรก โดย
               กล่าวถึงการเข้าถึงการคมนาคมขนส่งของประชาชนที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง โดยภาคธุรกิจอาจจะละเมิด

               สิทธิของประชาชนได้  เช่น การสร้างระบบขนส่งที่ไม่เอื้อต่อการใช้บริการของผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นต้น

               ในส่วนของภาครัฐเอง ก็ได้มีการคํานึงถึงประเด็นการดําเนินการโครงการภาครัฐที่อาจจะกระทําต่อ
               สิทธิมนุษยชนได้ จึงวางแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารและสามารถแสดงความคิดเห็นต่อ

               โครงการได้ นอกจากนี้ ยังมีแนวทางสนับสนุนกลไกการฟื้นฟู เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่ถูกรอนสิทธิ

               จากการดําเนินโครงการด้านการขนส่งและจราจรอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

                       9.   แผนสิทธิมนุษยชนด้านการเมืองการปกครอง มุ่งเน้นที่การสนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิและ

               เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง และมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง ซึ่งจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับ
               ประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน


                       10.  แผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรม ให้ความช่วยเหลือปกป้อง คุ้มครองสิทธิแก่ผู้ต้องหา
               ผู้เสียหายในคดี และพยาน ซึ่งครอบคลุมทั้งกรณีที่เป็นการละเมิดโดยภาคธุรกิจ หรือไม่ก็ได้ โดยประเด็นปัญหา

               ที่สําคัญ ประกอบไปด้วย การขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน ปัญหาการเข้าถึง

               กระบวนการยุติธรรมของประชากรบางกลุ่ม ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรม ปัญหาการ
               บังคับใช้กฎหมาย และปัญหาความล้าช้าและความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม





                                                           4-40
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192