Page 191 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 191
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
แผนภาพที่ 4.2 การดําเนินคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขององค์การต่างๆ ในประเทศไทย
ที่มา: รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ และคณะ. (2558) “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน.” สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
เมื่อพิจารณาในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ จะพบว่าแต่ละภาคส่วนได้เข้ามามี
บทบาทคุ้มครองและส่งเสริม แบ่งออกได้ดังนี้
ภาครัฐ
ประเทศไทยได้รับรองปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.
2491 และต่อมาได้แสดงเจตนารมณ์ในการพัฒนาส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และใน
ระดับสากล โดยการเข้าเป็นภาคีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับที่สําคัญ ซึ่งการเป็น
ภาคีพันธกรณีระหว่างประเทศเหล่านี้ มีผลทําให้ประเทศไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องรายงานสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนแต่ละด้านต่อสหประชาชาติ และจะต้องมีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ
และการปฏิบัติของหน่วยงานรัฐให้สอดคล้องกับพันธกรณีต่างๆ รวมถึงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชน
ระดับชาติ ซึ่งก็คือ กสม.เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้ปรากฏผลในทาง
12
ปฏิบัติ
ในประเด็นการป้องกัน ภาครัฐได้กําหนดกลไกในการผลักดันเพื่อให้เป็นไปตามแผนสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ฉบับที่ 3 มีทั้งกลไกในการป้องกัน กลไกในการคุ้มครอง การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน และการแก้ไข
กฎหมาย ทั้งในระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายอื่นๆ ที่มีลําดับรองลงมา ซึ่งในบางกรณีมีความคาบเกี่ยวกับ
12
เยาวพา ทัพผดุง. “บทบาท อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ
ไทย.” วิทยานิพนธ์สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปีการศึกษา 2547. หน้า 88-89.
4-44