Page 186 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 186
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ภาครัฐ ซึ่งภาครัฐต้องอาศัยการร่วมมือกันกับภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สําหรับประเด็นที่ธุรกิจ
สามารถที่จะละเมิดสิทธิของบุคคล จะประกอบไปด้วย สิทธิในการรับรู้ข้อมูลการรักษาของตนเองอย่างเป็น
รูปธรรม ทั้งกระบวนการรักษาและยาที่ใช้ในการรักษา พร้อมทั้งการทราบถึงทางเลือกของตนในการรับบริการ
สุขภาพ ตลอดจนการได้รับการชดเชยเยียวยาจากผลกระทบจากการรักษาที่ผิดพลาดตามสมควร นอกจากนี้
ยังพบว่ามีการระบุถึงสิทธิทางด้านแรงงานในการได้รับค่าชดเชยในกรณีที่หยุดงานเพื่อเข้ารับรักษาพยาบาลที่
สะท้อนการสูญเสียรายได้ตามจริงที่เป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
2. แผนสิทธิมนุษยชนด้านการศึกษา จะมุ่งเน้นที่การให้บริการภาครัฐในฐานะผู้ที่ให้สิทธิในการเรียน
ฟรี 12 ปี แต่มักจะพบปัญหาการหย่อนคุณภาพการให้บริการเป็นหลัก โดยหนึ่งในเครื่องมือที่แผน
สิทธิมนุษยชนด้านการศึกษาให้ความสําคัญ คือ การพัฒนาหลักสูตรและโครงสร้างทางการศึกษาที่สอดคล้อง
กับหลักสิทธิมนุษยชน บริบทของท้องถิ่นและเอื้อต่อสิทธิในการศึกษาของคนกลุ่มเฉพาะและการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต
3. แผนสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจ คํานึงถึงปัญหาความยากจนและปัญหาความเหลื่อมล้ําที่เกิดขึ้น
ในสังคม ที่ควรจะได้รับการแก้ไขในรูปแบบที่ยั่งยืน คือไม่ใช่นโยบายที่แจกเงินเพื่อมุ่งประโยชน์ทางการเมือง
โดยขาดความยั่งยืนทางการคลัง แต่มุ่งเน้นที่การสนับสนุนคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงการประกอบอาชีพและ
รายได้ที่เพียงพอตามสิทธิ และการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสังคม
ไปพร้อมๆ กัน ที่จะนําไปสู่การสร้างศักยภาพของตนเองได้ในระยะยาว โดยในแผนสิทธิด้านนี้ จะมีประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในสองมิติ คือ การได้รับผลตอบแทนค่าจ้างที่เป็นธรรม สอดคล้องกับผลิต
ภาพของแรงงาน และการส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
4. แผนสิทธิมนุษยชนด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นที่ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทํากิน และ
การถูกละเมิดสิทธิทางด้านสภาพแวดล้อม และการเข้าถึงสิทธิทางด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชน (และชุมชน)
ซึ่งเกิดขึ้นจากการขาดอํานาจต่อรอง การขาดความรู้ในกระบวนการยุติธรรม การขาดความรู้ทางด้านการ
พิสูจน์ความเสียหาย ต้นทุนการดําเนินคดีที่สูง และความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม ในประเด็นนี้จะมี
ความเกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยตรง เนื่องจากมูลเหตุของปัญหามักจะเกิดขึ้นจากข้อพิพาท
ระหว่างประชาชน/ชุมชน กับภาคธุรกิจ ซึ่งภาครัฐจะต้องเข้ามาช่วยเหลือในหลายด้าน ตั้งแต่การพัฒนา
กระบวนการมีส่วนร่วม การเร่งรัดการบังคับใช้กฎหมาย การเร่งรัดมาตรการเยียวยา การส่งเสริมของบทบาท
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การปลูกจิตสํานึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสําคัญของทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้ามาจัดการสิ่งแวดล้อม และการ
ออกมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจหันมาดําเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
4-39