Page 183 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 183
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า ประเทศไทยควรให้ความสําคัญในวาระการพัฒนา
10
ภายหลังปี ค.ศ. 2015 และต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs โดยประเด็นที่ไทยควรให้ความสําคัญ
ในเรื่องดังกล่าว มีดังนี้
ประการที่หนึ่ง ในหลักการนั้นควรยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมี
การขจัดความยากจนเป็นเป้าหมายหลัก ครอบคลุมประชาชนจากทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของกระบวนการ
จัดทํา SDGs และการนําไปปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ให้ความสําคัญต่อบทบาทของ
สตรีในการมีส่วนร่วมในวาระการพัฒนา เรียนรู้จากประสบการณ์ของ MDGs และตอบสนองต่อสิ่งท้าทายที่
เกิดขึ้นใหม่ เช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ การเกิด
โรคภัยใหม่ๆ และปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
ประการที่สอง เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศยังระบุด้วยว่า วาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ.
2015 ควรครอบคลุมประเด็นหลัก 5 ประเด็น ดังนี้
(1) การรับประกันความยั่งยืน (ensuring sustainability) ปัญหาสําคัญได้แก่ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
ที่ทําให้ประชาชนที่หลุดพ้นจากสภาวะยากจนแล้ว ต้องกลับสู่สถานะเดิม เนื่องจากไม่มีงานทํา ดังนั้น การ
สร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ผ่านการสร้างงาน โดยเฉพาะการสร้างงานที่มีคุณค่า จึงมีความสําคัญ รวมถึง
การส่งเสริมการศึกษาที่เน้นคุณภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความเติบโตทาง
เศรษฐกิจควรคํานึงถึงความยั่งยืนในเชิงสิ่งแวดล้อม โดยมีหัวใจหลักคือ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่จะต้อง
คํานึงถึงทรัพยากรที่จะเหลือไปถึงคนรุ่นหลัง นอกจากนั้น ยังมีประเด็นสําคัญที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นความ
มั่นคงด้านน้ํา อาหาร และพลังงาน
(2) สร้างศักยภาพในการฟื้นตัว (building resilience) โดยเฉพาะการบรรลุในเป้าหมายด้านสุขภาพ
MDGs ที่ผ่านมาพบว่ายังคงไม่บรรลุและมีความสําคัญต่อศักยภาพของมนุษย์ในการตอบสนองต่อสิ่งท้าท้าย
ใหม่ๆ ดังนั้น Post-2015 Development Agenda ควรมีประเด็นเรื่อง Universal Health Coverage ที่
ไทยมีบทบาทนํา และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีสําหรับประเทศอื่น นอกจากนี้ ยังมีประเด็นด้านการบริหาร
จัดการความเสี่ยงและบรรเทาภัยจากเหตุภัยพิบัติ เนื่องจากได้เกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้น ทําให้การบรรลุการพัฒนา
ที่ยั่งยืนต้องชะงัก หรือถดถอยลง ทั้งนี้ ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตมหาอุทกภัยและสามารถ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการน้ํากับประเทศต่างๆ
(3) ลดความไม่เท่าเทียมและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (reducing inequality and promoting
human rights) การเข้าถึงคนจากทุกภาคส่วนในสังคมสําคัญต่อนโยบายที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น ควรให้
10 กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ. (2558). “วาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 และการจัดทํา
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://mfa.go.th/main/th/issues/42458-เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ.html
4-36