Page 184 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 184
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ความสําคัญกับการลดความไม่เท่าเทียมกันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รัฐจะต้องให้ความสําคัญเป็น
พิเศษแก่กลุ่มคนด้อยโอกาสในสังคม (vulnerable groups) โดยเฉพาะเด็ก สตรี ผู้พิการ และผู้สูงอายุ
ซึ่งยังคงถูกละเลยอยู่มาก และเพื่อบรรลุการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน และลดความไม่เสมอภาค
(4) วิธีการดําเนินการ (means of implementation) การเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาล (good
governance) และหลักนิติธรรม (rule of law) เป็นวิธีการนําไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยต้อง
ตระหนักว่าการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากประเทศปราศจากความสงบสุขและขาดไร้ซึ่ง
สันติภาพ
(5) การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ
ประเทศไทยซึ่งมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาระหว่างประเทศมาโดยตลอด ได้บรรลุ
เป้าหมาย MDGs ในหลายประการ จึงได้รับการยอมรับและความสนใจจากองค์การสหประชาชาติและจาก
ประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่า ที่ประสงค์จะเรียนรู้ประสบการณ์ความสําเร็จของประเทศไทย เพื่อนําไป
ปรับใช้กับประเทศตน ประเทศไทยยังมีบทบาทโดดเด่น ในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ด้วยการเป็นประเทศ
กําลังพัฒนาที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนาด้วยกัน ทั้งในภูมิภาคเดียวกันและต่างภูมิภาค การที่
ไทยได้ดําเนินงานอย่างต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและวิชาการในสาขาที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ
ทําให้ประเทศพัฒนาแล้วประสงค์จะร่วมมือกับไทย ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนาอื่นๆ
ซึ่งบทบาทดังกล่าวเป็นบทบาทที่ไทยสามารถดําเนินการได้อย่างแข็งขันในเวทีระหว่างประเทศ ในการร่วมกัน
กําหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 ซึ่งจะเสริมสร้างสถานภาพและบทบาทของไทยให้เป็นที่ยอมรับ
และสร้างความนิยมในบรรดาประเทศต่างๆ ยิ่งขึ้นไป
11
ส่วนความคืบหน้าของประเทศไทยนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่
1/2558 โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจําสํานัก
นายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ภายหลังการประชุม นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการ
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เผยถึงผลการประชุมสรุปสาระสําคัญว่า
นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้เร่งการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
ตามที่ประเทศไทยได้ให้ความมุ่งมั่นไว้กับประชาคมโลก ในการประชุมสหประชาชาติเพื่อรับรองวาระการ
พัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้เป็นรูปธรรม
ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการทํางานของคณะกรรมการ กพย. แล้วมีมติเห็นชอบให้มีการเพิ่ม
องค์ประกอบของคณะกรรมการโดยควรเพิ่มเติมทางด้านกฎหมาย อาทิ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
11
http://www.thaigov.go.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=96209:id96209&Itemid=339&lang=th
4-37