Page 129 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 129
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และมีอ านาจในการเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการเลือกปฏิบัติ
ดังกล่าวที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพด้วยการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือการสอบสวนกรณีร้องเรียน
คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งสิ้น 11 คน เป็นประธานกรรมการ 1 คน กรรมการสามัญ
3 คน และกรรมการวิสามัญ 7 คน โดยมีที่มาจากการเลือกผ่านที่ประชุมแห่งชาติ 4 คน เสนอชื่อโดย
ประธานาธิบดี 4 คน และอีก 3 คนมาจากการเสนอชื่อของประธานศาลสูงแห่งเกาหลี ที่ได้รับการรับรองจาก
ประธานาธิบดี ซึ่งต้องมีกรรมการเป็นสตรีอย่างน้อย 4 คน โดยส านักงานจะเป็นผู้ด าเนินการตามนโยบายและ
มติที่ประชุมกรรมการ ซึ่งมีทั้งส านักงานกลางและส านักงานในภูมิภาคอีก 3 แห่ง
กระบวนการรับเรื่องร้องเรียน นอกจากการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากรัฐแล้ว
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลียังรับเรื่องร้องเรียนเมื่อบุคคลถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจาก
องค์กร หรือบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติจากเพศ ศาสนา ความพิการ อายุ สถานภาพทางสังคม
ชาติพันธุ์ ความคิดทางการเมือง และด าเนินการเมื่อมีการละเมิดกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติ โดย
บุคคลต้องไม่ถูกให้ออกจากงาน เปลี่ยนต าแหน่งงาน เลือกปฏิบัติ หรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมาย
นี้
กระบวนการตรวจสอบเมื่อมีการร้องเรียน คณะกรรมการจะสืบสวนหาข้อเท็จจริงโดยการรับฟังความ
คิดเห็น หรือเรียกเอกสารหากจ าเป็น ทั้งนี้ ในการสอบสวนอาจจะมีการเข้าไปในพื้นที่ เมื่อปรากฏว่าสามารถ
ด าเนินคดีได้ จะมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการและรวบรวมหลักฐานเพื่อด าเนินคดีตามกฎหมาย หากเป็นการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการท าผิดกฎหมาย การไม่เลือกปฏิบัติ
การด าเนินการในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ด าเนินภารกิจบนหลักการ UNGP ที่เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ทั้งนี้ มีการแบ่งการด าเนินงานตามหลัก
UNGP เป็น 3 แกนหลัก ดังนี้
1. การสร้างกฎหมาย ระบบการด าเนินงานและนโยบายขั้นพื้นฐานผ่านบทบาทที่ได้ด าเนินการ
ในช่วงที่ผ่านมา เช่น
1.1 ด าเนินการส ารวจสภาพความเป็นจริงและร่วมศึกษาวิจัยกับหน่วยงานภายนอก ผ่านการ
ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายและนโยบายที่สัมพันธ์กับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (2555),
ตรวจสอบถึงสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่แท้จริงของบริษัทข้ามชาติของประเทศ
ตนเอง (2556), พัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินผลปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการด้าน
สิทธิมนุษยชน (2557), ตรวจสอบสภาพความเป็นจริงด้านสิทธิมนุษยชนในการด าเนินธุรกิจ
3-59