Page 128 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 128

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               จะมีการส่งเรื่องร้องเรียนไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนระดับชาติ ของ OECD  (OECD  National  Contact
                      26
               Points)

                       การศึกษาและวิจัย การเก็บข้อมูล และการท า National Inquiry ของ SUHAKAM ช่วยให้การจัดท า

               baseline  study  และมีพัฒนาการในการจัดท าแผน NAP  ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ แผน NAP  จะประกันให้
               มาเลเซียสามารถก้าวผ่านไปสู่ประเทศก าลังพัฒนาได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติของ

               มาเลเซีย (Vision 2020) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ SDGs ซึ่งทั้งหมดนี้มีกรอบระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน

               นอกจากนี้ ความพยายามของภาครัฐในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการ
               คัดเลือกบริษัทในดัชนี FTSE4Good  Bursa  Malaysia  Index การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการ

               เปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมและการท ารายงานซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและเครื่องมือระหว่างประเทศ

               แก่ผู้บริหารและบริษัทมหาชน ตลอดจนบทบาทของภาคประชาสังคมในมาเลเซียที่ตื่นตัวกับประเด็นดังกล่าว
               โดยได้มีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกิดจากการประกอบธุรกิจของบรรษัทข้ามชาติในมาเลเซีย

               หรือบริษัทลูกสัญชาติมาเลเซียผ่านกลไก OECD เหล่านี้  เป็นโอกาสที่ดีที่  กสม.  สามารถน ามาปรับใช้เพื่อ

               ขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจในประเทศไทย




                      3.3.3  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลี


                       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544  ในฐานะสถาบัน
               ระดับชาติที่ให้การสนับสนุนด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน

               สิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลเกาหลีสมัครใจเข้าผูกพันตนเป็นรัฐภาคีสมาชิก


                       พันธกิจขององค์กร คือ การเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองที่เกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่รัฐ
               เฝ้าระวังเจ้าหน้าที่รัฐและภาคเอกชนไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ

               จัดท าข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาลเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ สร้างความเข้าใจ

               ด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะ

                       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีด าเนินการด้วยระบบคณะกรรมการ (Human

               Rights  Commission)  โดยมีเลขาธิการบริหารส านักงานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
               โครงสร้างของคณะกรรมการจะแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบทั้งในเชิงนโยบาย และการปฏิบัติการในเชิงรุกเพื่อ

               แก้ไขเยียวยาแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการเลือกปฏิบัติที่






               26
                    Human Rights Commission of Malaysia. (2015). “Strategic Framework on a National Action Plan on
                   Business and Human Rights for Malaysia 2015.” Selangor Darul Ehsan: OMR PRESS SDN. BHD.



                                                           3-58
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133