Page 127 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 127

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ตอบโต้ มาตรการดังกล่าวควรจะรวมถึงการเสริมสร้างและการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่มีอยู่ว่า

               ด้วยการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล นอกจากนี้ รัฐควรที่จะทุ่มเทที่จะจ าแนกและระบุอุปสรรคต่างๆ ที่กลุ่มผู้เปราะบาง
               และกลุ่มชายขอบต่างต้องประสบ โดยรัฐจะต้องรับรองที่จะยึดถือเอาหลักการ FPIC  ที่ก าหนดเอาไว้ใน

               ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองมาใช้ และประเมิน ไม่ว่าศาลพื้นเมืองจะจัดให้มีช่องทางการ

               เยียวยาที่มีประสิทธิภาพแก่ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองหรือไม่ก็ตาม

                       2)  แก้ไขปัญหาช่องว่างทางกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นอุปสรรคต่อการเยียวยา

               ทางศาล โดยรัฐควรที่จะจ าแนกและระบุช่องว่างทางกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นอุปสรรคต่อ
               การเยียวยาทางศาลทั้งในประเด็นทั่วไปและประเด็นเฉพาะของสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ซึ่งการ

               ด าเนินการดังกล่าวต้องอาศัยการพิจารณากลไกศาลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาลธุรกิจ ศาลแรงงานและศาล

               ช านาญพิเศษด้านการก่อสร้าง ตลอดจนกลไกศาลอื่นๆ ที่อยู่ในระดับแคว้นและรัฐ

                       3)  จัดให้มีกลไกเยียวยาที่ไม่ใช่ศาลในประเทศเพื่อเสริมกลไกศาลในการเยียวยาให้มีประสิทธิภาพ

               มากขึ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ โดยรัฐควรที่จะจ าแนกช่องว่างในบทบัญญัติของการ
               เยียวยาที่ไม่ใช่ศาล ประเมินความมีประสิทธิภาพของกลไกที่ไม่ใช่ศาลเทียบกับเกณฑ์ความมีประสิทธิภาพตาม

               หลักการ UNGP ข้อที่ 31 และอุดช่องว่างเหล่านี้โดยขยายอ านาจให้กับกลไกที่ไม่ใช่ศาลหรือจัดตั้งองค์กรก ากับ

               ดูแลใหม่ขึ้นมา นอกจากนี้ รัฐบาลควรที่จะเสริมสร้างอาณัติ อ านาจและศักยภาพของ SUHAKAM  เพื่อให้
               สามารถเป็นกลไกเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจ ตลอดจนประเมินการมีอยู่ของกลไกที่ไม่ใช่

               ศาลซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจ และรับเอาข้อเสนอแนะที่

               เหมาะสมไปปฏิบัติ ทั้งนี้ รวมถึงการประเมินความต้องการในการจัดตั้งกลไกที่ไม่ใช่ศาลขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขปัญหา
               การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจ เช่น สถาบันการเงิน การลงทุนและการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับรัฐ และ

               GLCs เป็นต้น


                       อ านาจหน้าที่และบทบาทตามกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขององค์กรหรือหน่วยงานด้าน

               สิทธิมนุษยชนของรัฐในต่างประเทศ เฉพาะกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเอกชน

                       กฎหมายของประเทศมาเลเซียไม่มีหน่วยงานรัฐที่ท างานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยตรง อย่างไร

               ก็ตาม มีหน่วยงานรัฐที่ท างานในประเด็นอื่นๆ เช่น การต่อต้านคอร์รัปชั่น สิทธิแรงงาน สามารถท างานใน

               ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจได้ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งมาเลเซีย
               ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ให้อ านาจแก่ SUHAKAM ในการเข้าไปยังพื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีการละเมิด

               สิทธิมนุษยชนได้


                       นอกจากนี้ ไม่มีหน่วยงานของรัฐด าเนินการในกรณีที่บริษัทของมาเลเซียละเมิดสิทธิมนุษยชนใน
               ต่างประเทศ นอกจากในกรณีที่เป็นการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับบรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาด าเนินธุรกิจในมาเลเซีย







                                                           3-57
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132