Page 126 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 126

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       เสาที่ 2 ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชน เนื่องจากบริษัททั่วโลกมีทิศทางที่

               จะให้ความส าคัญกับสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการออกนโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้ความ
               เคารพอีกทั้งยังได้มีมาตรการริเริ่มด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น Thun Group of Bank ตลอดจนกลุ่มธุรกิจบางราย

               ก็ให้ความสนใจไม่แพ้กัน เช่น องค์การนายจ้างระหว่างประเทศ (International  Organization  of

               Employers  -  IOE), IPIECA  (สมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนานาชาติ), สภา
               นานาชาติในการท าเหมืองแร่และโลหะ (International Council on Mining and Metals - ICMM) และ

               สมาคมเนติบัณฑิตสากล (International Bar Association - IBA) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้

               สมาชิกของตนเคารพในสิทธิมนุษยชน โดยได้มีการพัฒนามาตรฐาน เครื่องมือและแนวทางชี้แนะส าหรับ
               สิทธิมนุษยชนให้กับภาคธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น UN Global Compact’s Business and Human Rights

               Learning Tool, the International Business Leaders Forum and UN Global Compact’s Guide to

               Human Rights Impact Assessment and Management, GRI Sustainability Reporting Framework,
               แนวทางชี้แนะของ ICMM ว่าด้วยการบูรณาการการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการจัดการ

               ความเสี่ยงของภาคธุรกิจ และคู่มือคณะกรรมาธิการยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและภาคธุรกิจขนาดกลางและ

               ขนาดย่อม

                       SUHAKAM เสนอแนะว่ารัฐบาลควรช่วยเหลือภาคธุรกิจให้มีหน้าที่เคารพสิทธิมนุษยชนโดยส่งเสริมให้

               ภาคธุรกิจเข้าใจถึงหลักการ UNGP และช่วยให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจะต้อง
               แสวงหาแนวทางอื่นๆ รวมทั้ง


                         สร้างศูนย์ข้อมูล คณะกรรมการ และ/หรือเว็บไซต์ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ

                         ก าหนดให้มีหน่วยงานก ากับดูแลทางธุรกิจ เช่น SSM  และ Bursa  Malaysia  ให้ด าเนินการใน

                          มาตรการริเริ่มต่างๆ เพื่อส่งเสริมและด าเนินการตามหลักการ UNGP

                         กระตุ้นและสนับสนุนสถาบัน คณะกรรมการ เครือข่ายและหน่วยงานต่างๆ ที่มีอยู่แล้วซึ่งมีภารกิจ
                          ทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมและด าเนินการตามหลักการ UNGP

                         สนับสนุนและร่วมมือกับธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ และภาคประชาสังคมไม่ว่าจะอยู่ใน

                          ระดับประเทศ ภูมิภาคหรือระหว่างประเทศที่มีภารกิจในการส่งเสริมและด าเนินการตามหลักการ

                          UNGP


                       เสาที่ 3 การเข้าถึงการเยียวยา โดยจะต้อง

                       1)  แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางความรู้ ศักยภาพและอ านาจที่เป็นอุปสรรคต่อการเยียวยาให้กับ

               เหยื่อจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางและกลุ่มชายขอบ โดยรัฐจะต้อง
               ด าเนินมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในประเด็นทั่วไปและประเด็นเฉพาะของสิทธิมนุษยชนและการ

               ประกอบธุรกิจเพื่อขจัดอุปสรรคต่อการเยียวยาอันเกิดจากความไม่มีข้อมูล ศักยภาพและความเสี่ยงจากการ




                                                           3-56
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131