Page 122 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 122
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
(GRI), Sustainability Reporting Framework, the ISO 26000, the UN Global Compact
and UNICEF’s Children’s Rights and Business Principles
มีการจัดท า Bursa Malaysia’s Sustainability Guide ส าหรับผู้บริหารในการน าเอาหลักการ
สิทธิมนุษยชนไปผนวกไว้กับยุทธศาสตร์การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนของตน
การจัดท า Bursa Malaysia’s Corporate Governance Guide ส าหรับบริษัทมหาชนที่
ก าหนดให้ลูกจ้างจะต้องรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นกระบวนการภายในองค์กร
(internal whistle-blowing policies) และให้ความส าคัญกับสิทธิมนุษยชนโดยจะต้องปรากฏ
อยู่ในรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล
ภาคประชาสังคมเองก็มีบทบาทที่ส าคัญในการผลักดันให้ตระหนักในผลกระทบจากการละเมิด
สิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ โดยมีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกิดจากการประกอบธุรกิจของ
บรรษัทข้ามชาติในมาเลเซียหรือบริษัทลูกสัญชาติมาเลเซียผ่านกลไก OECD โดยได้มีการปรับใช้คู่มือ OECD
ซึ่งรวมถึงมาตรฐานสิทธิมนุษยชนให้กับบริษัทเหล่านี้ที่ถูกร้องเรียน อีกทั้งยังได้มีการจัดประชุมโต๊ะกลมร่วมกับ
ภาคธุรกิจ เช่น เนติบัณฑิตยสภาของมาเลเซียก็ได้มีการจัดวาระหารือเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบ
ธุรกิจในระหว่างการประชุมกฎหมายนานาชาติของมาเลเซียเมื่อปีค.ศ. 2014
แม้ว่าจะได้รับความร่วมมือจากทางภาครัฐและภาคประชาสังคมในการส่งเสริมการเคารพ
สิทธิมนุษยชนในกิจกรรมของภาคธุรกิจ แต่ยังมีความท้าทายอีกมากที่จะต้องด าเนินการ ทั้งนี้นโยบายและการ
ด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนควรที่จะต้องขยายขอบเขตไปให้ไกลกว่าขอบเขตของธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจ
แนวคิดเรื่อง CSR ของภาคธุรกิจก็ยังคงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพื่อการกุศลมากกว่าการเคารพสิทธิมนุษยชน
อย่างแท้จริง การไม่มีข้อมูลและแนวทางให้ภาคธุรกิจผนวกเอาหลักการสิทธิมนุษยชนไปอยู่ในการประกอบ
ธุรกิจให้เป็นแนวทางปฏิบัติยังคงปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับความคาดหวังที่จะให้ภาครัฐก าหนดและบังคับให้ภาค
ธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
การพัฒนาแผน NAP ของ SUHAKAM นั้นด าเนินการตามเอกสารเกี่ยวกับการชี้แนะให้รัฐควรพัฒนา
แผน NAP ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจอย่างไรซึ่งเป็นเอกสารที่จัดท าขึ้นโดยคณะท างานของ
UN ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ยังได้อาศัยเอกสารจากสถาบันสิทธิมนุษยชน
ดานิชและเอกสารการประชุมโต๊ะกลมว่าด้วยการพัฒนาแผน NAP ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ
และการถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ขององค์กรชื่อว่า International Corporate
Accountability
ทั้งนี้แผน NAP แบ่งออกเป็นสามเสา ดังนี้
3-52