Page 121 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 121

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               อีกทั้ง SDGs ทั้งหมดนี้มีกรอบระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันและสะท้อนถึงความพยายามในการด าเนินการในแต่ละ

               หน่วยงานของรัฐเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน

                       แผนยุทธศาสตร์ชาติของประเทศมาเลเซียมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นประเทศที่พัฒนา

               แล้วซึ่งไม่ได้ให้ความส าคัญแต่เพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจและศักยภาพในการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการ
               เป็นสังคมที่เท่าเทียมและเป็นธรรม ดังนั้นภาคธุรกิจจึงมีความจ าเป็นที่จะต้องเคารพสิทธิมนุษยชนในการ

               ด าเนินธุรกิจด้วยเพราะจะช่วยสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้กับการด าเนินธุรกิจในประเทศและเสริมสร้าง

               ขีดความสามารถในต่างประเทศให้กับมาเลเซียได้ ทั้งนี้ ในแผนฯ ดังกล่าวได้รับรองให้ภาคธุรกิจจะต้องด าเนิน
               ธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม


                       การจัดท าแผน NAP มีความแตกต่างกับการจัดท าแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่ 2 ประการ ประการ
               แรก คือ สิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจมีลักษณะเฉพาะและมีความซับซ้อนในตัว และเป็นเรื่องยากที่จะ

               ไปสอดคล้องกับเป้าประสงค์เฉพาะในภารกิจหากว่าจะให้ด าเนินการตามขั้นตอนและกลไกในแผน

               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่กว้างกว่าได้ ทั้งนี้ หลักการ UNGP  เองก็ได้มีการออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาที่
               เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางธุรกิจเอาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ประการต่อมา ภาคธุรกิจเป็นองค์ประกอบส าคัญของ

               แผน NAP  แต่ไม่ได้เสมอไปส าหรับแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การที่จะให้ประเด็นสิทธิมนุษยชนและการ

               ประกอบธุรกิจไปรวมอยู่ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจจะท าให้ไม่ได้รับความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมของ
               ภาคธุรกิจให้ประสบผลส าเร็จได้


                       แผน NAP จึงได้มีการจัดท าให้สอดคล้องกับหลักการ UNGP เพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลมีมาตรการทาง

               นโยบายและกฎหมายส าหรับภาคธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยจะได้มีการจัดท าแผน NAP  ให้
               เหมาะสมภายใต้บริบทของประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้หลักการ UNGP  ไม่ได้เป็นการสร้างภาระให้กับรัฐในการ

               จัดท าเครื่องมือหรือการจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
               ทั้งนี้ รัฐบาลควรจะต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดท าแผน NAP  ดังกล่าวซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของการให้ข้อมูลที่

               เพียงพอและการปรึกษาหารือกับทุกภาคส่วนเพื่อที่จะท าให้แผนดังกล่าวประสบผลส าเร็จ


                       SUHAKAM กล่าวชื่นชมการด าเนินการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจที่
               ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น


                         ดัชนี FTSE4Good Bursa Malaysia Index เป็นดัชนีที่ก าหนดให้บริษัทจะต้องให้ความส าคัญกับ

                          สิทธิมนุษยชนหากประสงค์ให้บริษัทของตนได้รับการจัดอันดับที่ดีในตลาดหลักทรัพย์

                         คณะกรรมการบริษัทแห่งชาติได้เผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อ

                          สังคมและการท ารายงาน โดยให้ความส าคัญกับมาตรฐานและเครื่องมือธรรมาภิบาลระหว่าง

                          ประเทศซึ่งมีหลักการด้านสิทธิมนุษยชนสอดแทรกอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Global Reporting Initiative






                                                           3-51
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126