Page 120 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 120

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 รัฐมนตรีประจ าส านักนายกรัฐมนตรีได้เปิดตัว กรอบยุทธศาสตร์ของแผน

               NAP  ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจขึ้น ในขณะนี้ SUHAKAM เข้าไปมีส่วนช่วยในการจัดท า
               แผนงาน (roadmap) อันน าไปสู่การพัฒนาแผนดังกล่าวโดยรัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพในการจัดท าแผนพร้อมด้วย

               การปรึกษาหารือร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง


                       กรอบแผน NAP ของ SUHAKAM


                       SUHAKAM  เริ่มให้ความส าคัญในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจตั้งแต่ปีค.ศ.
               2001  อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น SUHAKAM ก็ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวผ่านการรับเรื่อง

               ร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศในการจ้างงาน การหา

               ประโยชน์โดยไม่ชอบกับแรงงานต่างด้าว แรงงานบังคับ การจ้างงาน สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองและสิทธิใน
               สิ่งแวดล้อม


                       ภายหลังปีค.ศ. 2010  SUHAKAM ก็มีการด าเนินการเพิ่มมากขึ้น โดยยกประเด็นสิทธิมนุษยชนและ
               การประกอบธุรกิจเป็นภารกิจหลักของ SUHAKAM ซึ่งได้มีการจัดท ากิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุม

               การอภิปรายโต๊ะกลมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ในประเด็นดังกล่าว มีการศึกษาและวิจัย ตลอดจนมีการ

               แสวงหาข้อเท็จจริงรายประเทศเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของชนเผ่าพื้นเมืองในมาเลเซียและการตรวจสอบการ
               ละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ


                       จากข้อค้นพบของ SUHAKAM พบว่าภาคธุรกิจยังคงขาดความตระหนักรู้และไม่ยอมรับบทบาทและ
               หน้าที่ของตนเองว่าจะไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ว่าทางใดก็ตามในสายงานของตน อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจต่างก็

               คุ้นเคยกับแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)  แต่ไม่คุ้นกับหลักการ UNGP  ซึ่งเป็นหลักการที่

               สนับสนุน CSR ในแง่ของการเคารพสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ภาครัฐเองก็มีบทบาทที่ส าคัญในการส่งเสริมให้
               ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชน และในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมี

               กลไกเยียวยาที่มีประสิทธิภาพมารองรับการละเมิดนั้น ในการสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิมนุษยชนและการ

               ประกอบธุรกิจนั้น วิธีการหนึ่งที่ดีที่สุดคือการจัดท าแผน NAP  ดังนี้ SUHAKAM จึงได้น าร่องจัดท าแผน NAP
               เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ UNGP โดยแผนดังกล่าวจะได้ก าหนดให้ทั้งภาครัฐและที่ไม่ใช่ภาครัฐด าเนินการ

               ภายใต้กรอบสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ


                       แผน NAP  จะประกันให้มาเลเซียสามารถก้าวผ่านไปสู่ประเทศก าลังพัฒนาได้อย่างยั่งยืน โดยมี
               ยุทธศาสตร์ในการใช้กฎระเบียบทั้งหมดและการมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมของภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการ

               เคารพสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ ซึ่งได้มีการจ าแนกประเด็นสิทธิต่างๆ พร้อมทั้งได้มีการให้ข้อเสนอแนะเชิง

               รูปธรรมและการด าเนินการที่สามารถประสบผลส าเร็จได้ ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือและความมุ่งมั่นทุก
               ภาคส่วนของรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ชาติของประเทศมาเลเซีย (Vision  2020) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน







                                                           3-50
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125