Page 107 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 107

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       6.   ภาคประชาสังคมควรที่จะเพิ่มความต้องการด้านความโปร่งใสให้มากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน และควร

               ที่จะมีบทบาทในการตรวจสอบ วิเคราะห์และกระจายข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการติดต่อกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ
               เพื่อสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการด าเนินงานของธุรกิจให้ดีมากยิ่งขึ้น


                       รายงานความโปร่งใสของรายงานภาคธุรกิจ ได้ให้บทเรียนที่ส าคัญในการประยุกต์ใช้กับการ
               ด าเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทย ดังนี้


                       1.   รูปแบบการวิเคราะห์ความโปร่งใสของภาคธุรกิจ สามารถน ามาเป็นตัวอย่างเทียบเคียงเพื่อ
               วิเคราะห์ว่า ธุรกิจมีความมุ่งมั่นมากน้อยเพียงใดในการดูแลจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการ

               แก้ไขปัญหาภายในองค์กรเอง โดยในรายงานได้แสดงวิธีการค านวณคะแนน โดยใช้ค าถามส าหรับการวิเคราะห์

               รายงานประจ าปีว่า มีรายการที่ควรจะมีหรือไม่ (การปรับใช้ต้องการมาตรฐานของค าถามว่าประเด็นไหนส าคัญ
               ต่อปัญหาสิทธิมนุษยชน เช่น ระบุอย่างเด่นชัดว่าในรายงานจะต้องมีส่วนที่ระบุถึง การรักษากฎหมายใน

               ประเด็นที่สนใจ การฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ การวางกฎระเบียบให้กับพนักงาน และ/หรือ การวาง

               กฎระเบียบให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น)

                       2.   ข้อเสนอแนะในการเพิ่มความโปร่งใสของรายงานภาคธุรกิจ สามารถน ามาปรับใช้เป็น

               ข้อเสนอแนะในการดูแลจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนได้อีกด้วย


                       3.2.5   เอกสาร ความเต็มใจที่จะท างาน (Willing to Work) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง
                         23
               ออสเตรเลีย


                       เอกสารความเต็มใจที่จะท างาน (Willing to Work) เป็นการน าเสนอผลการศึกษาของคณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลียในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเลือกปฏิบัติต่อแรงงานสูงอายุ และ
               แรงงานทุพพลภาพในประเทศออสเตรเลีย


                       ในภาพรวม  การศึกษาในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  โดยเลือกปฏิบัติต่อแรงงานสูงอายุ  และ

               แรงงานทุพพลภาพในประเทศออสเตรเลีย  ได้ครอบคลุมประเด็นที่ส าคัญ  3  ประเด็น  ได้แก่  สถานการณ์ที่

               เป็นอยู่ในปัจจุบัน  มุมมองและความเชื่อของผู้ที่เกี่ยวข้อง  และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้คณะกรรมการ
               สิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลียยังได้มีการน าเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น


                       ผลการศึกษาในรายละเอียด สามารถสรุปใจความส าคัญ ได้ดังนี้

                       1.   ผลการศึกษาได้เกริ่นน าถึงสิทธิของแรงงานสูงอายุ  และแรงงานทุพพลภาพในการท างาน  โดยได้

               ระบุว่าสิทธิในการท างานครอบคลุมไม่เฉพาะผู้ที่มีงานท า แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่ก าลังหางานอีกด้วย



               23
                    Australian Human Rights Commission. “Willing to Work: National Inquiry into Employment
                   Discrimination Against Older Australians and Australians with Disability.” Easy Read version.



                                                           3-37
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112