Page 112 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 112
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ในการด าเนินการดังกล่าว สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กได้ให้ความส าคัญกับ 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1)
การรับรู้ถึงมาตรฐานสากล 2) การด าเนินตามมาตรฐานสากลในประเทศ และ 3) การท างานกับภาคธุรกิจ
1) การรับรู้ถึงมาตรฐานสากล
ฝ่ายสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กได้ท างานร่วมกับองค์กร
ระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และด าเนินการให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิ
มนุษยชน ตลอดจนการจัดตั้งกลไกเพื่อรับรองการปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นๆ
สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กได้ด าเนินการในหลายรูปแบบที่สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิ
มนุษยชนในระบบสากล โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กได้เข้าไปมีส่วนร่วมในมาตรการริเริ่มในระดับ
ระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคและในระดับสาขาธุรกิจต่างๆ เพื่อพัฒนากรอบและแนวทางชี้แนะเพื่อการ
ประกอบธุรกิจ เช่น สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กได้ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม
ปิโตรเลียมนานาชาติ (IPIECA) หน่วยงานก ากับภาคพลังงานในประเด็นทางสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อบูรณา
การขั้นตอนการประเมินสิทธิมนุษยชนในธุรกิจพลังงาน
ในปีค.ศ. 2008 สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กได้จัดตั้งคณะท างานสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า
ด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจภายใต้คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ International Coordinating Committee of National Human Rights
Institution (ICC) โดยมีสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กเป็นประธาน การจัดตั้งคณะท างานดังกล่าวได้สร้างการ
รับรู้ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียส าคัญในการพัฒนาสิทธิ
มนุษยชนและการประกอบธุรกิจ คณะท างานได้ทุ่มเทให้กับการพัฒนาหลักการ UNGP การทบทวนแนวปฏิบัติ
OECD ส าหรับบรรษัทข้ามชาติ ตลอดจนข้อเสนอแนะ OECD ว่าด้วยแนวทางร่วมกันในการส่งเสริม
สิ่งแวดล้อมและการให้สินเชื่อส่งออกที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ในส่วนของการพัฒนา
ศักยภาพของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กก็ได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม
ประกอบด้วยคู่มือและการเรียนรู้อิเล็กทรอนิคส์ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจครอบคลุมทุกมิติ
เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก
นอกจากนี้สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กยังได้พัฒนาการประเมินการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน
(Human Rights Compliance Assessment (HRCA)) เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจอย่างมีความ
รับผิดชอบขึ้น โดยอาศัยตราสารว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและแรงงานระหว่างประเทศมากกว่า 80 ฉบับ รวมทั้ง
ตัวชี้วัดด้านนโยบายและการประกอบการราวๆ 1,000 ตัวชี้วัด เพื่อให้ภาคธุรกิจน าไปใช้เพื่อประเมินตนเอง
หรือน าไปใช้เป็นคู่มืออ้างอิงในการจัดท ามาตรฐานคุ้มครองทางนโยบายและสังคมภายในธุรกิจก็ได้
3-42