Page 103 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 103

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       บทเรียนจากการวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยแรงงานทาสสมัยใหม่ปีค.ศ. 2015 ของประเทศอังกฤษ

               สามารถน ามาปรับใช้กับไทยได้ใน 2 รูปแบบ คือ

                       1.   การให้อ านาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใต้กรอบกฎหมายของประเทศอังกฤษ

               สามารถน ามาใช้เทียบเคียงเป็นบทบาทที่ควรจะเป็นส าหรับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศ
               ไทย


                       2.   การผลักดันกลไกการแก้ไขปัญหาโดยภาคธุรกิจเอง ซึ่งกระท าโดยการบังคับให้ธุรกิจต้องพิจารณา
               ปัญหาไม่เฉพาะเพียงที่ธุรกิจด าเนินการอยู่ แต่ครอบคลุมไปถึงห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่ธุรกิจด าเนินการอยู่ด้วย

               อีกทั้งยังก าหนดให้มีการประเมินประสิทธิผลของการด าเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยครอบคลุมไปถึงการฝึกอบรม

               พนักงาน ซึ่งเป็นการก าหนดกิจกรรมการด าเนินงานบางอย่างที่บริษัทควรกระท าในทางอ้อม นอกจากนี้ ใน
               กฎหมายยังก าหนดให้ธุรกิจมีความโปร่งใสทางด้านการเปิดเผยข้อมูลภายในระยะเวลาที่ก าหนด ซึ่งเป็น


               ช่องทางที่ส าคัญที่สนับสนุนกลไกการตรวจสอบจากภาคประชาสังคม

                                                                                         21
                       3.2.3 Human Rights in Supply Chains: Promoting Positive Practice


                       เอกสาร Human  Rights  in  Supply  Chains:  Promoting  Positive  Practice  เกิดขึ้นจากความ
               ร่วมมือกันระหว่าง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลีย สถาบันออสเตรเลียส าหรับการดูแลด้านความ

               รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Australian Centre for Corporate Social Responsibility)

               และเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Global Compact Network) โดยมีจุดมุ่งหมายในการ
               สนับสนุนการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กรภาคธุรกิจ ผ่านการบริหารจัดการธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของ

               บริษัทตนให้มีความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น การพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจในห่วงโซ่

               อุปทานของบริษัทของตนมีความส าคัญ เนื่องจากโดยมากแล้ว ธุรกิจที่ค านึงถึงด้านสิทธิมนุษยชนมักจะมุ่งเน้น
               ไปที่การด าเนินงานที่ธุรกิจมีอ านาจในการก ากับดูแลเป็นหลัก ซึ่งท าให้กรอบการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

               ในภาคธุรกิจ จะมุ่งเน้นที่การด าเนินการภายในองค์กรเป็นหลัก หนังสือเล่มนี้ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ธุรกิจ

               สามารถที่จะพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของตนให้มีความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน
               มากยิ่งขึ้นอีกด้วย


                       ในหนังสือได้แบ่งการน าเสนอออกเป็น 7 ส่วน โดยใน 2 ส่วนแรกจะเป็นการเกริ่นน าภาพรวมของ
               เนื้อหาของทั้งเล่ม และระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา


                       ส่วนที่ 3 จะน าเสนอการทบทวนพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน และอธิบายถึงจุดเริ่มของ
               ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการบริหารจัดการธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทว่ามีจุดเริ่มในช่วงทศวรรษที่



               21
                    ACCSR, AHRC, GCNA. (2015). “Human Rights in the Supply Chains: Promoting Positive Practice.”
                   Melbourne.



                                                           3-33
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108