Page 104 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 104
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
1990s โดยมีมูลเหตุมาจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทข้ามชาติ ในส่วนนี้ยังได้มีการอธิบายถึง
ทัศนคติในอดีตของการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนของธุรกิจในประเทศออสเตรเลียว่า มักจะมองว่าเป็นปัญหาที่
เกิดขึ้นนอกประเทศเป็นหลัก จนกระทั่งสังคมเกิดการตื่นตัวขึ้นในปี ค.ศ. 2015 เนื่องจากบริษัทสื่อของ
ออสเตรเลียได้มีการน าเสนอหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของธุรกิจห่วงโซ่อุปทานของออสเตรเลีย
การน าเสนอในส่วนนี้ปิดท้ายด้วยการให้หลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สะท้อนว่าธุรกิจเริ่มเห็นความส าคัญของปัญหา
สิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น พร้อมๆ กับการให้ความส าคัญกับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน
ส่วนที่ 4 เป็นการส ารวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจ ถึงมูลเหตุที่ภาคธุรกิจหันมาสนใจด้าน
สิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ผลส ารวจพบว่าปัจจัยส าคัญที่ก าหนดความสนใจของภาคธุรกิจ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน
เป็นหลักการที่ถูกต้องและเหมาะสมที่จะกระท า สิทธิมนุษยชนสะท้อนถึงคุณค่าของพนักงานและเป็นสิ่งที่
คาดหวังขององค์กร สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างตราสินค้าและการสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัท และ
สิทธิมนุษยชนท าให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ผลส ารวจ
พบว่า ปัจจัย 3 ปัจจัยที่มีบทบาทน้อยในการก าหนดความสนใจของภาคธุรกิจ ได้แก่ ผลกระทบในแง่ลบที่เคย
เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจ กฎระเบียบของภาครัฐ และแรงกดดันจากผู้บริโภคและผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ ผลการส ารวจ
แยกรายสาขาการผลิต ยังพบว่า ธุรกิจการเงิน การธนาคารและการประกันภัยจะให้ความส าคัญเป็นพิเศษกับ
ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเนื่องจากการสภาพแข่งขันในตลาด ในขณะที่ ธุรกิจด้านการเกษตร และห่วงโซ่
อุปทานอาหารสด จะให้ความส าคัญกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาพรวมที่น้อยกว่าสาขาการผลิตอื่นๆ ซึ่ง
สะท้อนว่า ธุรกิจในสาขาที่แตกต่างกันอาจจะมีให้ความส าคัญกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในระดับที่แตกต่างกัน
ส่วนที่ 5 จะเป็นการน าเสนอสถานการณ์ในการจัดการกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันของ
ภาคธุรกิจ ซึ่งพบว่า ธุรกิจเกือบร้อยละ 90 จะให้ความส าคัญกับการจัดการในส่วนที่ธุรกิจมีอ านาจโดยตรงเป็น
หลัก ในขณะที่การด าเนินการในล าดับรองลงมาจะประกอบไปด้วย การจัดการกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก
การด าเนินการของธุรกิจ การอาศัยความร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาก าไร และกับธุรกิจประเภทเดียวกันใน
อุตสาหกรรมก็เป็นอีกกลุ่มการด าเนินการที่ส าคัญ
เมื่อพิจารณาการให้ความส าคัญกับสิทธิมนุษยชนในรายประเด็น พบว่าธุรกิจให้ความส าคัญกับ
ประเด็นการไม่เลือกปฏิบัติในองค์กร ความปลอดภัยในการท างาน ความหลากหลายและการมีส่วนร่วม การ
เข้าไปเชื่อมโยงกับชุมชน ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ และความลับส่วนบุคคล เป็นหลัก ในขณะที่ประเด็น
ที่มีความส าคัญรองลงมา ประกอบไปด้วย สิทธิของคนพื้นเมือง สิทธิในการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ สิทธิ
ด้านสิ่งแวดล้อม เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการรวมกลุ่มสมาคมเพื่อสร้างอ านาจต่อรอง และเมื่อ
พิจารณาแยกรายสาขาจะพบว่าแต่ละสาขาจะมีความมุ่งเน้นในสิทธิที่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน
ในส่วนที่ 6 จะเป็นการน าเสนอผลส ารวจถึงอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการ
บริหารจัดการธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่ส าคัญ 2 อันดับแรก คือ ข้อจ ากัดในการ
3-34