Page 110 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 110
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
3.3 บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศอื่นๆ
ปัจจุบันมีการจัดตั้งหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนระดับชาติในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกหน่วยงาน
เหล่านี้มีอ านาจตามกฎหมายในแต่ละประเทศแตกต่างกัน โดยหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนระดับชาติทั่วโลก
24
สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการที่ปรึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดินและสถาบันสิทธิมนุษยชน ซึ่งโครงสร้าง รูปแบบ อ านาจตามกฎหมายและบทบาทหน้าที่ที่
แตกต่างกันนั้น ส่งผลต่อลักษณะการท างาน กลยุทธ์และวิธีปฏิบัติการของหน่วยงานสิทธิมนุษยชนใน
ระดับชาติในประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการศึกษาแนวทางของ
หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนระดับชาติต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 4 ประเทศ โดย
มีสาระพอสังเขปได้ ดังนี้
3.3.1 สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก (The Danish Institute for Human Rights: DIHR)
สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก (Denmark Institute of Human Rights - DIHR) ก่อตั้งในปี พ.ศ.
2526 ภายใต้ชื่อ Danish Centre for Human Rights ก่อนที่จะมีการปรับปรุงสถานะขององค์กรที่แยก
ออกมาเป็นอิสระในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติสถาบันระดับชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2555
(Denmark’s National Human Rights Institution Act no. 553/2012) มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม
2556
รูปแบบของสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กใช้รูปแบบสถาบันสิทธิมนุษยชน (Human Rights
Institute) ซึ่งเป็นรูปแบบขององค์กรที่อยู่ในรัฐที่มีหน่วยงานเฝ้าระวังที่ดีพอประมาณระดับหนึ่ง และมี
วัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน โดยไม่ได้ท าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน แต่มุ่งเน้นไปที่การให้
ความรู้ เผยแพร่ข้อมูล งานวิจัย นอกจากนี้ โครงสร้างการท างานของสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กแสดงให้
25
เห็นถึงภารกิจหลัก คือ การด าเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ภายใต้ค าแนะน าของกรรมการบริหาร
สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กเป็นองค์กรที่ด าเนินงานเป็นอิสระจากรัฐ ได้รับการสนับสนุนเงิน
งบประมาณจากรัฐ มีภารกิจหลัก คือ การส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน และการขจัดการเลือกปฏิบัติด้วย
24
Dam, S. (2007). “Lessons from National Human Rights Institutions around the World for State
and Local Human Rights Commissions in the United States.” Cambridge: Kennedy School of
Government, Harvard University.
25
Beeman, M. L. (2007, August). “Lessons from National Human Rights Institutions Around the
World for State and Local Human Rights Commissions in the United States.” [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา Retrieved from Kennedy School of Government, Harvard University :
http://www.hks.harvard.edu/index.php/ content/download/67465/1242670/version/1/file/nhri.pdf
3-40