Page 101 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 101
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
3.2.2 Lesson Learned from Modern Slavery Act 2015 of United Kingdom
ในปีค.ศ. 2015 ประเทศอังกฤษได้ออกกฎหมายใหม่ว่าด้วยแรงงานทาส (Slavery Act) ซึ่งเป็น
กฎหมายที่มีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมประเด็นแรงงานทาสที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีการระบุถึงประเด็น
ส าคัญๆ ที่ประเทศอังกฤษให้ความส าคัญเป็นพิเศษ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของการใส่หมวดข้อกฎหมายที่
ส าคัญๆ แยกออกจากหมวดข้อกฎหมายหลักที่ใช้บังคับทั่วไปในทุกๆ กรณี
ในภาพรวม ประเทศอังกฤษได้แบ่งหมวด (part) ของกฎหมายออกเป็น 7 หมวด ประกอบไปด้วย
1. การกระท าผิดกฎหมายแรงงานทาส 2. อ านาจศาลในการออกค าสั่งป้องกัน (prevention order) 3. การ
บังคับใช้กฎหมายทางทะเลที่เกี่ยวข้อง 4. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5. การปกป้อง คุ้มครองผู้ตก
เป็นเหยื่อแรงงานทาส 6. การเพิ่มความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานการผลิต (supply chain) 7. หมวดอื่นๆ
ในรายละเอียด ในหมวดแรก จะเริ่มต้นด้วย การนิยามแรงงานทาสว่าลักษณะใดถือว่าเป็นแรงงาน
ทาส ตามด้วยการนิยามผู้กระท าผิดแรงงานทาส ว่าเกิดขึ้นจากการกระท าโดยตรง หรือมีส่วนร่วมที่ท าให้เกิด
การใช้แรงงานทาส ในส่วนสุดท้ายจะเป็นการระบุถึงบทลงโทษส าหรับผู้กระท าความผิดในรูปแบบต่างๆ
หมวดที่ 2 ให้อ านาจศาลในการออกค าสั่งป้องกัน โดยศาลสามารถสั่งจ ากัดพฤติกรรมของผู้ต้องหา
เช่น การห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เป็นต้น
หมวดที่ 3 ระบุถึงขอบเขตอ านาจทางทะเล เนื่องจากประเทศอังกฤษ มีการแบ่งอ านาจทางทะเล
ออกเป็นขอบเขตอ านาจของอังกฤษ ขอบเขตอ านาจของสก็อตแลนด์ และขอบเขตอ านาจของไอร์แลนด์เหนือ
หมวดที่ 4 ระบุถึงขอบเขตอ านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศอังกฤษ
ดังนี้
ข้อ 40 ระบุถึงกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อ 41 ก าหนดบทบาททั่วไปของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้
1. สนับสนุนการใช้หลักปฏิบัติที่ดี ในการป้องกัน (prevention) การตรวจพบ (detection) การ
สืบสวน (investigation) และกระบวนการฟ้องร้อง (prosecution) ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทาส รวมไปถึงการ
ระบุตัวตน และให้การช่วยเหลือและสนับสนุนเหยื่อแรงงานทาส
2. ระบุตัวอย่าง ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถเลือกกระท า ดังนี้
- จัดท าและเสนอรายงานให้กับภาครัฐ ซึ่งเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ภาครัฐร้องขอให้
ด าเนินการ หรือเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมสิทธิมนุษยชน
- ให้ค าแนะน าภาครัฐในการพัฒนาการด าเนินการ
- ให้การสนับสนุนการท าวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3-31