Page 7 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 7

เครื่องมือหลักในการแสดงความเคารพในสิทธิมนุษยชนของบริษัท อันประกอบด้วยหลักการส าคัญตามที่ระบุไว้ใน

            หลักการชี้แนะของสหประชาชาติ 5 องค์ประกอบดังนี้



                    1)  การประกาศนโยบายและหลักการของบริษัทที่ว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน (A statement of

                       policy articulating the company’s commitment to respect human rights) ซึ่งจะอธิบายต่อ

                       สาธารณะว่าธุรกิจจะด าเนินการอย่างไรในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสียภายในและ

                       ภายนอก รวมถึงการระบุความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในโครงสร้างการท างานของธุรกิจ


                    2)  การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือมีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัท (Assessment of

                       actual and potential human rights impacts of company activities and relationships)

                       หมายถึงการพิจารณาว่าใครที่ได้รับ/มีแนวโน้มได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการด าเนินงาน ซึ่ง

                       ธุรกิจจะต้องท างานร่วมกันโดยตรงกับผู้ที่ได้รับ/อาจจะได้รับผลกระทบ เช่น พนักงาน ผู้จัดหาวัตถุดิบ

                       นักลงทุน ชุมชนท้องถิ่น



                    3)  การบูรณาการนโยบายเข้ากับการประเมิน รวมถึงกลไกควบคุมภายในและภายนอก(Incorporating into

                       company procedures and addressing impacts) เมื่อมีการระบุปัญหาและจัดล าดับความส าคัญ

                       แล้ว ธุรกิจต้องหาทางบรรเทาปัญหาผ่านการบูรณาการเข้าถึงการด าเนินงานของบริษัท วิธีการขึ้นอยู่กับ

                       ประเด็น แต่ส่วนใหญ่มักด าเนินการผ่านการให้ความรู้และฝึกอบรมด้วยเครื่องมือและกระบวนการต่างๆ

                       ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องมีตั้งแต่ แรงงานไปจนถึงธรรมาภิบาลของบริษัท หากมีการท างาน

                       ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียจะช่วยท าให้บริษัทพัฒนานโยบายและกระบวนการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น


                    4)  การติดตามและการรายงานผลการด าเนินงาน (Tracking and reporting performance) การรายงาน

                       ท าให้ผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะนักลงทุนเข้าใจว่าท าไมบริษัทจึงให้ความส าคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชน

                       และมีประโยชน์ต่อผู้ใดบ้าง รวมทั้งเผยแพร่รายงานการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งแสดงถึง

                       ความโปร่งใสของธุรกิจได้ (International Tourism Partnership, 2014)



                    5)  การแก้ไขให้ถูกต้องและเยียวยา (Remediation and remedy) เมื่อบริษัทระบุได้ว่าบริษัทก่อให้เกิดหรือ
                       มีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทก็ควรแก้ไขให้ถูกต้อง หรือมีส่วนร่วมกับการ

                       แก้ไขผ่านกระบวนการที่ชอบธรรม โดยจัดตั้งหรือมีส่วนในการจัดตั้งกลไกรับเรื่องร้องเรียนส าหรับผู้มีส่วน

                       ได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากกิจกรรมของตน เพื่อให้เรื่องร้องเรียนเหล่านั้นได้รับการจัดการ
                       อย่างทันท่วงที และมีการเยียวยาโดยตรง






                                                                                                            7
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12