Page 5 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 5
ทางลบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงหรือที่น่าจะเกิดขึ้นได้ที่องค์กรธุรกิจอาจจะเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยกิจการของ
องค์กรธุรกิจเอง หรือเป็นผลตามมาของความสัมพันธ์ทางธุรกิจขององค์กรธุรกิจ โดยมีกระบวนการ ดังนี้
(ก) ประเมินความเสี่ยงโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนภายในหรือภายนอกที่เป็นอิสระ
(ข) จัดให้มีการปรึกษาหารืออย่างจริงจังกับกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบและผู้มีส่วนได้เสียตามความเหมาะสม
กับขนาดขององค์กรธุรกิจ สภาพและบริบทของการด าเนินการ
หลักการข้อที่ 19 เพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบที่มีผลในทางลบต่อสิทธิมนุษยชน องค์กรธุรกิจควรบูรณาการสิ่ง
ที่ค้นพบจากการประเมินผลกระทบเข้ากับหน้าที่และกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องและด าเนินการตามความ
เหมาะสม
(ก) การบูรณาการอย่างมีประสิทธิผลต้องมีสิ่งต่อไปนี้
(1) องค์กรธุรกิจต้องมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ท าหน้าที่ติดตามผลกระทบด้านสิทธิ
มนุษยชน
(2) กระบวนการตัดสินใจภายใน การจัดสรรงบประมาณ และกระบวนการก ากับดูแล จะท าให้มีการ
สนองตอบที่มีประสิทธิผลต่อผลกระทบดังกล่าว
(ข) การกระท าที่เหมาะสมจะต่างกันออกไปด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
(1) องค์กรธุรกิจก่อหรือมีส่วนร่วมในการท าให้เกิดผลกระทบในทางลบ หรือองค์กรธุรกิจเพียงแต่เข้าไป
เกี่ยวข้องเพราะ ถูกโยงโดยตรงกับการด าเนินการผลิต ผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ด้วย
(2) อ านาจต่อรองขององค์กรธุรกิจในการแก้ปัญหาและดูแลผลกระทบในทางลบ
หลักการข้อที่ 20 ในการหาความจริงว่าผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนก าลังได้รับการดูแลหรือไม่ องค์กรธุรกิจ
ควรติดตามตรวจสอบประสิทธิผลของการแก้ปัญหา การติดตามตรวจสอบควรมีลักษณะ ดังนี้
(ก) มีตัวชี้วัดด้านคุณภาพและด้านปริมาณที่เหมาะสม
(ข) การหาข้อมูลสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกรวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ
หลักการข้อที่ 21 ในการแสดงความรับผิดของบริษัทผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น องค์กรธุรกิจควรจะ
มีความพร้อมที่จะสื่อสารเรื่องนี้กับภายนอก โดยเฉพาะเมื่อความกังวลนั้นถูกน าเสนอ หรือกระท าในนามของผู้มีส่วน
5