Page 4 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 4

2)  การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) องค์กรและบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการ

                    เคารพสิทธิมนุษยชน



                3)  การเยียวยา (Remedy) เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสม

                    รวมทั้งยังเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน และเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิ

                    มนุษยชนเกิดขึ้นด้วยไม่ว่าโดยกิจการนั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รวมกันเป็น

                    สมาคมธุรกิจ (Ruggie, 2011)


            หลักการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence-HRDD)



                  ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business

            and Human Rights)  ได้ระบุถึงกระบวนการ HRDD ไว้ในหลักการข้อที่ 17-22 ซึ่งได้ก าหนดกรอบเพื่อให้ธุรกิจ

            สามารถติดตามประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง โดยมุ่งหวังว่าองค์กรธุรกิจควรด าเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ โดยยึด

            หลักสิทธิมนุษยชนในการป้องกัน ลดความสูญเสีย มีการประเมินผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริง

            และอาจเกิดขึ้นได้และมีการติดตามผลกระทบนั้นอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้

            ได้รับผลกระทบจะได้รับการดูแลและเยียวยาอย่างใส่ใจ


                  เนื้อหาในหลักการได้ระบุแนวทางปฏิบัติส าหรับธุรกิจ ดังนี้



                  “หลักการข้อที่ 17 องค์กรธุรกิจควรด าเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน ในการป้องกัน ลด

            ความสูญเสีย มีการประเมินผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นได้และมีการติดตาม

            ผลกระทบนั้นอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อให้แน่ใจได้ว่า ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการดูแลและ

            เยียวยาอย่างใส่ใจ


                  (ก) ควรครอบคลุมผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่องค์กรธุรกิจอาจก่อหรือมีส่วนท าให้เกิดขึ้น โดยผ่านกิจกรรม

            ขององค์กรธุรกิจหรืออาจเชื่อมโยงกับการผลิตหรือบริการขององค์กรธุรกิจ โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางธุรกิจ



                  (ข) ย่อมมีความต่างกันในเชิงความซับซ้อนตามขนาดขององค์กร ธุรกิจ ความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่

            รุนแรง และสภาพตาม ธรรมชาติกับบริบทการด าเนินการขององค์กรธุรกิจ


                  (ค) ควรด าเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยยอมรับว่าการเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจเปลี่ยนไปตาม

            สถานการณ์และบริบทในการด าเนินการขององค์กรธุรกิจ



                  หลักการข้อที่ 18 เพื่อที่จะวัดการเสี่ยงภัยในด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรธุรกิจควรระบุและประเมินผลกระทบ


                                                                                                            4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9