Page 6 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 6
ได้เสียที่ได้รับผลกระทบ องค์กรธุรกิจที่กิจการของตนหรือบริบทการด าเนินธุรกิจท าให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิด
สิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ควรจะรายงานอย่างเป็นทางการว่า องค์กรธุรกิจนั้นได้ดูแลผลกระทบเหล่านั้นอย่างไร ใน
ทุกกรณีการสื่อสารควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรูปแบบและความถี่ที่สะท้อนผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรธุรกิจ และกลุ่มเป้าหมายของการ
สื่อสารควรจะเข้าถึงได้
(ข) จัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอที่จะประเมินว่าองค์กรธุรกิจได้ตอบสนองต่อผลกระทบทางสิทธิมนุษยชน
อย่างเพียงพอแล้วหรือไม่
(ค) ในทางกลับกันการสื่อสารนั้นๆ จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนได้เสียได้รับผลกระทบ บุคลากร
หรือข้อก าหนดที่ชอบธรรมในเรื่องความลับเชิงพาณิชย์
หลักการข้อที่ 22 ในกรณีที่องค์กรธุรกิจถูกระบุว่าได้ก่อให้เกิดหรือมีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
องค์กรธุรกิจเหล่านั้นควรจัดให้มีหรือร่วมมือในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยใช้กระบวนการที่ชอบธรรม
โดยสรุป กระบวนการการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นหนึ่งประเด็นส าคัญของหลักการชี้แนะ
ว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งก าหนดให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นความรับผิดชอบของ
บริษัท บริษัทต้อง “รู้และแสดง (know and show)” ด้วยแนวทางต่อไปนี้
1) การสร้างข้อผูกมัดด้านสิทธิมนุษยชนในนโยบายของบริษัท
2) ท างานเชิงรุกด้วยกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
3) แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและชดเชยต่อกรณีการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นหรือไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากการด าเนินงานของ
บริษัท
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
แม้จะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่แตกต่างกันตามบริบทของ
ธุรกิจ สิ่งส าคัญซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรตระหนักคือ การสร้างการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่มี
ความหมายไม่ใช่เพียงแค่งานที่ท าแล้วเสร็จสิ้นในครั้งเดียว แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ในการสร้างความรับผิดชอบ
ของบริษัทและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายภายในบริษัท กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็น
6