Page 35 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 35
2014)
ตัวอย่าง
บริษัท ยูนิลีเวอร์ จัดให้มีช่องทางการสื่อสารกับพนักงานทั่วโลกดังนี้
ได้จัดท าเว็บไซต์ที่เรียกว่า“Social Impact Hub” ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีตัวอย่างและแนวปฏิบัติในประเด็น
แรงงานสัญญาจ้างและแรงงานข้ามชาติ
มีไมโครบล็อกกิ้งภายในบริษัทแบบเดียวกับทวิตเตอร์ที่ชื่อ “Enhancing Livelihoods” ที่ใช้ส่งข่าวภายใน
และภายนอกบริษัทที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน
ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ทุกวันสิทธิมนุษยชนสากล ผู้บริหารจะสื่อสารประเด็นสิทธิมนุษยชนกับพนักงาน
เพื่อให้พนักงานที่มีอยู่ทั่วโลกรับรู้ว่าบริษัทให้ความส าคัญต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน รวมถึงความท้าทายที่
บริษัทก าลังเผชิญ (Unilever, 2016)
แนวทางการจัดท ารายงาน
หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนคาดหวังว่าบริษัทที่มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะรายงาน
ปัญหาและแจ้งว่าบริษัทได้ด าเนินการอย่างไร กรอบรายงานควรจะประกอบด้วย3 ส่วนหลักดังนี้ 1) ธรรมาภิบาลของ
การเคารพสิทธิมนุษยชน (Governance of Respect for Human Rights) 2) ก าหนดจุดเน้นของการรายงาน
(Defining a Focus of Reporting) 3) การจัดการกับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญ (Management of Salient
Human Rights Issues) แนวทางการจัดท ารายงานไม่ควรจ ากัดอยู่ที่ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ แต่การให้ความส าคัญกับ
ข้อมูลเชิงคุณภาพจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท
ตัวชี้วัดลักษณะของรายงานประเมินสิทธิมนุษยชนที่ดี ประกอบด้วย
- ธรรมาภิบาล รายงานได้อธิบายว่าโครงสร้างธรรมาภิบาลของบริษัทสนับสนุนการจัดการความเสี่ยง
ด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่
- กระบวนการที่เฉพาะเจาะจง นอกจากการประกาศนโยบายของผู้บริหารแล้ว ในรายงานมีการ
กล่าวถึงกระบวนการน าหลักสิทธิมนุษยชนไปใช้อย่างเฉพาะเจาะจงหรือไม่
- ผลกระทบที่เฉพาะเจาะจง รายงานได้อ้างอิงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์กับการปฏิบัติการของ
บริษัทหรือไม่
- ตัวอย่างที่ชัดเจน รายงานมีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องว่านโยบายและการด าเนินงานของบริษัทมีผลต่อการ
ปฏิบัติหรือไม่
- มุมมองจากผู้มีส่วนได้เสีย รายงานอธิบายว่าบริษัทรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างไร
35