Page 39 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 39

เป็นต้น

                     โรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ HRDD น าร่องควรเป็นโรงแรมสัญชาติไทย มิได้เป็นบริษัทในเครือหรือผู้บริหาร

            จัดการแบรนด์โรงแรมจากต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมกระบวนการ HRDD ในภาคธุรกิจไทยเป็นหลัก


            6. การติดตามผลการท า HRDD
                     กสม. จะมีบทบาทอย่างสูงในการติดตามผลการท า HRDD เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่จะต้องการทราบว่า

            กระบวนการที่ตนน าไปปฏิบัีตินั้นมีความถูกต้องครบถ้วน และเพียงพอต่อการแสดงความเคารพในสิทธิมนุษยชน
            หรือไม่ อย่างไร กลไกแก้ไขและเยียวยาสอดคล้องกับหลักการชี้แนะ UNGP หรือไม่ ฯลฯ บริษัทจะคาดหวังความ

            ช่วยเหลือจาก กสม. ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนมากที่สุด และ

            กสม. ก็ควรติดตามผลการท า HRDD เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการน าคู่มือ

            HRDD ไปปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงคู่มือและกระบวนการต่างๆ ในอนาคต
                    ในการติดตามผลการท า HRDD และส่งเสริมอย่างต่อเนื่องดังกล่าว กสม. อาจพิจารณาจัดตั้งฝ่ายหรือทีมงาน
            เฉพาะส าหรับการให้ค าปรึกษาด้าน HRDD ต่อธุรกิจ ตั้งแต่ขั้นแรกๆ ของการน าคู่มือ HRDD ไปใช้ โดยสามารถให้

            ค าปรึกษาเป็นรายๆ ไป หรือลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัทที่ประสงค์จะให้ กสม. มีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ

            ตาม HRDD ดังตัวอย่างความร่วมมือระหว่ีางบริษัทเนสท์เล่ กับสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก

            (https://www.humanrights.dk/projects/nestle-partnership)


            7. การสร้างแรงจูงใจส าหรับกิจการขนาดย่อมหรือขนาดปานกลาง (SME)

                    ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในธุรกิจโรงแรมมักด าเนินกิจการขนาดเล็กหรือขนาดกลาง เมื่อเผชิญกับกระบวนการ

            HRDD ซึ่งทั้ง 'ใหม่' ส าหรับตนเอง และ 'ใหญ่' ในแง่ของขอบเขตที่จะต้องด าเนินการ อาจขาดแรงจูงใจที่จะท า HRDD
            เนื่องจากมองว่าตนขาดแคลนทรัพยากรทั้งในแง่เงินทุน เวลา และความรู้ความเชี่ยวชาญ กสม. สามารถมีบทบาทใน

            การสร้างแรงจูงใจส าหรับ SME ในการจัดท า HRDD ได้ โดยใช้วิธีต่ีางๆ ประกอบกัน เช่น
                      - จัดท าเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (human rights risk self-assessment) ส าหรับ

            ธุรกิจ SME และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ กสม. และภาคีเครือข่าย

                      - จัดท าและเผยแพร่กรณีศึกษา SME ที่มีธรรมเนียมปฏิบัติเป็นเลิศ (best practice) ด้านการเคารพสิทธิ

            มนุษยชน
                      - ท างานเชิงรุกในการเชื่อมโยงให้ SME รู้จักกับนักสิทธิมนุษยชน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิ และสถาบัน

            วิชาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยินดีจะให้ค าปรึกษาแนะแนวด้านสิทธิโดยสมัครใจหรือในราคาไม่แพง















                                                                                                          39
   34   35   36   37   38   39   40   41   42