Page 37 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 37

บทที่ 4 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย




                  จากการทบทวนวรรณกรรม ประกอบกับการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ นักสิทธิมนุษยชน
            และเจ้าหน้าที่ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ กสม.

            ดังต่อไปนี้




            1. ควรแปลค าว่า ‘human rights due diligence’ เป็นภาษาไทยว่า “การส ารวจเชิงลึกด้านสิทธิมนุษยชน” ในการ
            สื่อสารกับธุรกิจการโรงแรมและสาธารณะ




            2. แนวทางส่งเสริมการประยุกต์ใช้คู่มือตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (คู่มือ HRDD) ส าหรับบริษัทจด
            ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์: เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรายงานผลประกอบการด้านความยั่งยืน และการแสดง

            ‘ความเป็นผู้น า’ ด้านธุรกิจที่ยั่งยืน

                  บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบกิจการโรงแรม ล้วนแต่ต้องปฏิบัติ
            ตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทด้านความยั่งยืน หรือความรับผิดชอบของธุรกิจต่อ

            สังคม (Corporate Social Responsibility – ซีเอสอาร์) ซึ่งมีการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจส าคัญ อีกทั้ง
            มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องเหล่านี้นับวันจะยิ่งทวีความเข้มข้นและเรียกร้องให้บริษัท ‘พิสูจน์’ ว่ามีความ

            รับผิดชอบในด้านต่างๆ มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ กสม. จึงควรส่งเสริม HRDD ในฐานะกระบวนการที่จะช่วยให้บริษัท

            สามารถแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม และปรับปรุงผลประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง อีก
            ทั้งการใช้กระบวนการดังกล่าวยังนับเป็นการแสดง ‘ความเป็นผู้น า’ ด้านธุรกิจที่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่

            ‘ก้าวหน้า’ กว่าการประกาศว่าบริษัทด าเนินธุรกิจตามมาตรฐานความยั่งยืนต่างๆ

                  ในล าดับต่อไป กสม. ควรหารือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และ

            ส านักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในประเด็นต่อไปนี้
                 1) แนวทางการเผยแพร่และจัดอบรมเกี่ยวกับคู่มือ HRDD

                 2) การบูรณาการผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามกระบวนการ HRDD เข้ากับกฎการเปิดเผย
                   ข้อมูลเกี่ยวกับซีเอสอาร์และ/หรือความยั่งยืน ส าหรับบริษัทจดทะเบียน

                 3) บทบาทของ กสม. ในการให้ความเห็นต่อรายงานการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ตามกระบวนการ

                   HRDD
                 4) ความเป็นไปได้ในการใช้ผลรายงานการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ตามกระบวนการ HRDD ในการ

                   มอบรางวัลที่เกี่ยวข้องกับซีเอสอาร์และ/หรือความยั่งยืนของ ตลท. อาทิ CSR Award, ธรรมาภิบาลดีเด่น

                   ฯลฯ



            3. แนวทางส่งเสริมการประยุกต์ใช้คู่มือตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (คู่มือ HRDD) ส าหรับบริษัทนอกตลาด

                                                                                                          37
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42