Page 38 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 38

หลักทรัพย์: เน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

                    ส าหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กสม. ควรเน้นการสื่อสารประเด็นที่ว่า กระบวนการ

            HRDD เป็น “เครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยง” ที่ส าคัญส าหรับบริษัททุกขนาด โดยเฉพาะในยุคที่กรณีละเมิดสิทธิ

            มนุษยชนโดยภาคธุรกิจถูกจับตามองในระดับโลก และรัฐบาลของคู่ค้าทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก
            สามารถเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับสิทธิมนุษยชน จากการ “naming and shaming” ที่มาจากผู้เล่น

            ภายนอกซึ่งสะท้อนความล้มเหลวของบริษัทในการปกป้องสิทธิมนุษยชน มาเป็น “knowing and showing” ซึ่งเป็น

            ผลการปฏิบัติงานของบริษัท ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทมากมายรวมถึงด้านชื่อเสียง แทนที่จะรอให้นักรณรงค์หรือ
            สื่อสร้างผลกระทบทางลบแก่บริษัทด้วยการเปิดโปงว่าบริษัทมีส่วนในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในห่วงโซ่อุปทานหรือ

            ห่วงโซ่คุณค่าของตน

                    นอกจากนี้ กระบวนการ HRDD ยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการ ‘สานสัมพันธ์’ และปรับความเข้าใจระหว่าง

            บริษัท กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่อาจมีความขัดแย้งกันในอดีต อาทิ สหภาพแรงงาน หรือชุมชนท้องถิ่น เนื่องจากมีจุดตั้ง

            ต้นที่ ‘สิทธิมนุษยชน’ ซึ่งมีนิยามและขอบเขตที่ชัดเจนระดับสากล



            4. เตรียมความพร้อมของส านักงาน กสม. ให้พร้อมตอบค าถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในคู่มือ HRDD

                    กสม. ในฐานะหน่วยงานหลักของประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่ธุรกิจคาดหวัง รวมถึง
            เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการออกคู่มือ HRDD ควรอบรมเจ้าหน้าที่ส านักงานและปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร ให้

            มีความพร้อมในการตอบค าถามจากภาคธุรกิจ ในประเด็นต่างๆ ซึ่งปรากฎในเนื้อหาคู่มือ HRDD และรายการ

            ตรวจสอบที่เกี่ยวข้อง


            5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการโรงแรม เพื่อเผยแพร่คู่มือ HRDD และจัดท ากรณีศึกษาที่ประสบ

            ความส าเร็จ
                      กสม. ควรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรม อาทิ สมาคมโรงแรมไทย และการท่องเที่ยว

            แห่งประเทศไทย เพื่อเผยแพร่คู่มือ HRDD และติดตามผลการน าไปใช้ เพื่อพัฒนาและรวบรวมกรณีศึกษาที่ประสบ
            ความส าเร็จในการเยียวยาผลกระทบ และ/หรือการบรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของกิจการโรงแรมไทย อัน

            เป็นกุญแจส าคัญของการชี้ให้บริษัทอื่นๆ เล็งเห็น ‘ประโยชน์ทางธุรกิจ’ ของกระบวนการ HRDD ต่อไปในอนาคต

                     จุดเริ่มต้นของการประสานงานดังกล่าว อาจเป็นการจัดท า 'โครงการ HRDD น าร่อง' โดยร่วมมือกับสมาคม
            โรงแรมไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยคัดเลือกหรือรับสมัครโรงแรมที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ 3-5

            แห่งแรก โรงแรมเหล่านี้จะรับหลักการและแนวปฏิบัติ HRDD อย่างครบถ้วน แต่อาจแบ่งกระบวนการตรวจสอบรอบ

            ด้านหรือ due diligence ด้านสิทธิมนุษยชนออกเป็นระยะๆ เพื่อให้เวลาในการศึกษาและบูรณาการกับการด าเนิน
            ธุรกิจ เช่น ระยะที่ 1 ด าเนินกระบวนการตรวจสอบรอบด้านส าหรับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน (รวม

            ห่วงโซ่อุปทาน เช่น บริษัทนายหน้าจัดหาแรงงาน) ระยะที่ 2 ด าเนินกระบวนการส าหรับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เก่ีียว
            ข้องกับสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม (รวมห่วงโซ่อุปทาน เช่น บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโรงแรมใหม่) และระยะที่ 3

            ด าเนินกระบวนการส าหรับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าที่มาเข้าพัก (รวมห่วงโซ่อุปทาน เช่น บริษัททัวร์)

                                                                                                          38
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42