Page 32 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 32
ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นได้ตลอดสายสัมพันธ์ทางธุรกิจ กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง
รอบด้านที่มีประสิทธิภาพต้องมีวิธีการตรวจสอบที่ดี บริษัทสามารถพึ่งพาผู้ตรวจสอบภายในในฐานะที่เป็นเครื่องมือขั้น
พื้นฐานในการติดตามผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็ควรมีวิธีการอื่นๆ ในการตรวจสอบด้วย
การติดตามผลและการรายงานผลการด าเนินการมีความส าคัญเท่ากับการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
เพราะท าให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการได้อย่างต่อเนื่อง
เบื้องต้นธุรกิจควรจะบูรณาการเครื่องมือที่ใช้อยู่แล้วเข้าไปในกระบวนวิธีรายงานภายในที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการนี้ควรรวมถึงสัญญาและการทบทวนเกี่ยวกับผลประกอบการ ตลอดจนการส ารวจและการตรวจสอบบัญชี
โดยใช้ข้อมูลที่แยกตามเพศ กลไก ในการรับเรื่องร้องทุกข์ในระดับปฏิบัติการอาจมีประโยชน์ในการหาข้อมูล สนับสนุน
ที่ส าคัญในเรื่องประสิทธิผลของการเฝ้าระวังในเรื่องสิทธิมนุษยชน อย่างจริงจังโดยองค์กรธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
โดยตรงด้วย (Ruggie, 2011)
ขั้นตอนการติดตามผล
1) เลือกวิธีการติดตามผล บริษัทมีหลายวิธีในการติดตามผลการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ตัวอย่างเช่น
- การรวบรวมข้อมูลจากเรื่องร้องเรียน ตัวอย่างเช่น ฮอตไลน์รับเรื่องร้องเรียน กล่องรับความคิดเห็น หรือค า
ร้องเรียนจากตัวแทนสหภาพแรงงาน ซึ่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานการละเมิดแรงงาน การท างาน
ล่วงเวลา
- การส ารวจความคิดเห็นลูกจ้าง ซึ่งมักจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญ
ตัวอย่างเช่น ประสบการณ์การเลือกปฏิบัติ ทัศนคติของลูกจ้าง หรือการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายบริหาร
จัดการ
- กระบวนการสอบบัญชีภายในซึ่งมีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
- รายงานระดับประเทศ ซึ่งจัดเตรียมโดยผู้อ านวยการระดับประเทศหรือภูมิภาคของบริษัท ซึ่งอาจจะมี
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศและที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
2) พัฒนาตัวชี้วัดของบริษัทโดยเฉพาะ บริษัทไม่จ าเป็นต้องเริ่มต้นสร้างตัวชี้วัดขึ้นมาใหม่ แต่สามารถปรับปรุงจาก
ตัวชี้วัดที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจัดท าโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ตัวชี้วัดของสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก สิ่งที่
บริษัทควรจะพิจารณาเพื่อใช้ในการติดตามและรายงานผลการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนคือ กระบวนการ
สิ่งที่เกิดขึ้น และผลที่เกิดขึ้นตามมา
3) การติดตามผู้จัดหาวัตถุดิบ และคู่ค้าทางธุรกิจอื่นๆ หลายบริษัทเริ่มจัดท าระบบเฝ้าระวังห่วงโซ่อุปทานโดยมี
เป้าหมายเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติของคู่ค้า และ
การติดตามมีทั้งการประเมินตนเองและการตรวจสอบโดยบริษัทผู้ว่าจ้าง หากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน คู่ค้า
32