Page 36 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 36

-  ความท้าทาย บริษัทได้อภิปรายความซับซ้อนหรือความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนที่ประสบหรือไม่

                           และบริษัทจัดการอย่างไร

                       -  การอ้างอิงตัวเลข รายงานของบริษัทรวมถึงข้อมูลเฉพาะด้าน ตัวชี้วัดผลการด าเนินงานที่ส าคัญที่

                           สอดคล้องกับข้อมูลเชิงบรรยายหรือไม่

                       -  การด าเนินการในอนาคต รายงานได้ระบุแผนการของบริษัทเพื่อเคารพสิทธิมนุษยชนหรือไม่

                       -  การบูรณาการแนวปฏิบัติ หากมีการอ้างอิงแนวปฏิบัติจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในรายงานได้

                           แสดงให้เห็นหรือไม่ว่าแนวปฏิบัติเหล่านี้มีประโยชน์กับการจัดการความเสี่ยงของบริษัท

                       -  การปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูล หากไม่ใช่รายงานด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก รายงานฉบับนี้ได้แสดง

                           ให้เห็นถึงการปรับปรุงคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ เมื่อเทียบกับรายงานฉบับก่อนหน้านี้ (Shift,

                           Global Compact Network Netherlands & Oxfam 2016)



                    รูปแบบการสื่อสารอาจมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพบปะของบุคคลภายใน การสนทนาทางสื่อ

            อิเล็กทรอนิกส์ การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ และรายงานต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ การ

            รายงานควรครอบคลุมหัวข้อและตัวชี้วัดที่ก าหนดว่าบริษัทจะระบุและจะดูแลผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างไร

            การตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอิสระในการรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชนอาจจะท า ให้เนื้อหาของรายงาน มีความ

            น่าเชื่อถือมากขึ้น (Ruggie, 2011)





            ตัวอย่าง



                    ในปี 2553 บริษัทฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด (Hewlett-Packard: HP) ท างานร่วมกับ Business for Social

            Responsibility: BSR)  ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาก าไร และสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กจัดท าการประเมินความ

            เสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การประเมินผลกระทบมีการระบุค าแนะน าต่างๆ ว่าบริษัทควรท าอย่างไรเพื่อให้เคารพสิทธิ

            มนุษยชนอย่างเข้มแข็งมากขึ้น



                    บริษัทได้ถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและบทเรียนที่ได้รับจากการประเมินไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท

            เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและสร้างการเรียนรู้ให้กับอุตสาหกรรมนี้ บริษัทยังจัดท าข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงทางสิทธิ

            มนุษยชนที่ส าคัญของบริษัทและพื้นที่อื่นๆ ที่บริษัทเกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การปฏิบัติลูกจ้าง

            และการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวส าหรับการวิเคราะห์เชิงลึก บริษัทได้แลกเปลี่ยนข้อมูลว่าการประเมินน าไปสู่ความ

            เปลี่ยนแปลงต่อธรรมาภิบาลด้านสิทธิมนุษยชนในบริษัทอย่างไร และบริษัทท างานอย่างมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

            และเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ เพื่อให้เคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้นอย่างไร (BSR, 2013)

                                                                                                          36
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41