Page 33 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 33

ต้องจัดท าแผนการปรับปรุง


                4)  ตรวจสอบผลการด าเนินงาน หลายบริษัทจัดท าระบบตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการติดตามผล ไม่ว่า

                    จะเป็นการท างานร่วมกับเครือข่ายในอุตสาหกรรมเดียวกัน องค์การพัฒนาเอกชน องค์การระหว่างประเทศ


                5)  การปรับปรุง การติดตามผลเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงการด าเนินการของบริษัทในการคุ้มครองสิทธิ

                    มนุษยชนหลายด้าน ตัวอย่างเช่น ข้อผูกมัดทางนโยบายและการบูรณาการ เช่น การปรับปรุงนโยบายให้

                    ทันสมัย จากประเด็นการละเมิดสิทธิที่ส าคัญ




            แนวทางติดตาม การบรรเทาและการเยียวยา

                  บริษัทต้องจัดระบบที่สามารถติดตามการบรรเทาและเยียวยาได้ และตรวจสอบว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ โดย

            ต้องจัดให้มีการตรวจสอบการบรรเทาความเสียหายและการเยียวยาที่เป็นอิสระ อีกทั้งยังต้องสร้างความไว้วางใจและ

            ความร่วมมือระยะยาวในการปรับปรุงการท างานมากกว่ายึดระบบตรวจสอบเป็นหลัก โดยบริษัทสามารถด าเนินการ

            ดังนี้

                  1)  จัดให้มีระบบตรวจสอบการตัดสินใจและการรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในระดับบริหาร เช่น

                     การจัดตั้งกรรมการและผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน และก าหนดให้การประเมินและตรวจสอบ

                     สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความส าเร็จความส าเร็จขององค์กร

                  2)  จัดตั้งระบบตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ โดยมีผู้บริหารระบบสูงเป็นผู้ตรวจสอบระบบนี้อีกขั้นหนึ่ง

                     อยู่เป็นประจ า มีการประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและหลักฐานที่ตรวจสอบได้ ต้องมีแหล่งข้อมูล

                     ที่เป็นบุคคลที่สาม และผู้เชี่ยวชาญด้านไตรภาคี หากมีความจ าเป็น

                  3)  การวิเคราะห์หลักฐาน ถอดบทเรียนและจัดล าดับความส าคัญในการด าเนินการและป้องกันในระยะยาว

                     โดยวิเคราะห์หลักฐานและเฝ้าระวังข้อมูลเพื่อระบุให้ได้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นเมื่อใด และ

                     เพราะเหตุใด รวมถึงการเก็บบันทึกกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการประเมินและวิเคราะห์ หากเป็นไปได้

                     อาจจะให้ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ สะท้อนความคิดเห็นต่อการด าเนินการของบริษัท ทั้งนี้การใช้หลักฐานที่

                     น่าเชื่อถือจะช่วยในการวางแผนการท างานในอนาคตได้ และเป็นการป้องกันปัญหาระยะยาว การท างาน

                     อย่างมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรมาก แต่คุ้มค่าในระยะยาว เพราะไม่

                     เพียงแต่จะได้ข้อมูลเท่านั้น ยังเป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความสัมพันธ์

                  4)  การสื่อสารภายในบริษัทและคู่ค้า โดยสื่อสารกับลูกจ้าง คู่ค้าและแรงงานที่อยู่ภายใต้บริษัทคู่ค้าและในห่วง

                     โซ่อุปทานรับรู้ถึงกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

                  5)  รายงานต่อสาธารณะเกี่ยวกับขั้นตอนการด าเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  ในรายงานประจ าปีบริษัท

                     ควรระบุนโยบายของบริษัท กลยุทธ์ และกิจกรรมของบริษัทในการจัดการ บรรเทาและป้องกันการละเมิด

                                                                                                          33
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38