Page 24 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 24

  ระดับการครอบคลุมของกิจกรรมทางธุรกิจและความสัมพันธ์ทางธุรกิจ


                   ระดับและจุดเน้นของการประเมิน เช่น ประเมินระดับบริษัท แผนกต่างๆ ของบริษัท กิจกรรมของบริษัทในแต่

                   ประเทศ พื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ซึ่งโครงการบริษัทตั้งอยู่ ห่วงโซ่อุปทานที่เฉพาะเจาะจง เป็นต้น

            วิธีการและการบูรณาการ

                   เวลา: ก่อน ระหว่าง หรือหลังจากกิจกรรมทางธุรกิจหรือโครงการ

                   การประเมินสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ หรือการบูรณาการเข้ากับการประเมินความเสี่ยงหรือผลกระทบอื่นๆ

                   (เช่น การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม)


                   ระดับของมาตรฐานการเก็บข้อมูล เช่น การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณ การตรวจสอบด้วยตัวชี้วัด

                   หรือการตรวจสอบแบบเปิด

                   ระดับของการระบุปัญหา การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่มีศักยภาพ กลุ่มที่ได้รับ

                   ผลกระทบ การบูรณาการและการติดตามผล

                   การบูรณาการโดยใช้ทรัพยากรของตนเองอย่างเดียว หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญอิสระ




                ตัวอย่างแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของบริษัท


            1)  การประเมินความเสี่ยงของบริษัทในภาพกว้าง (Initial Company-Wide Risk Assessment)  เริ่มจากภาพรวม

                ของพื้นที่ซึ่งบริษัทสามารถสร้างผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนได้ จากนั้นวิเคราะห์ต่อว่าบริษัทอ่อนไหวต่อความ

                เสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนใดบ้างในอุตสาหกรรมของตนเอง ก่อนที่จะนิยามและจัดล าดับความส าคัญของขั้นตอน

                ต่อไปเพื่อบูรณาการกับ HRDD ตัวอย่างเช่น ระบุพื้นที่ซึ่งต้องมีการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเชิงลึก

                รวมถึงการนิยามประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญต่อบริษัท


                ข้อจ ากัดของแนวทางนี้คือ ไม่ใช่การพิจารณาเชิงลึกส่งผลให้มีโอกาสน้อยมากที่จะประเมินผลกระทบด้านสิทธิ

                มนุษยชนตามความเป็นจริง และขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียภายนอกและกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบ


            2)  การประเมินผลกระทบระดับประเทศ (Assessing Impact at Country Level) เป็นการวิเคราะห์เชิงลึกว่า

                สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศเชื่อมโยงกับกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทอย่างไร และห่วงโซ่คุณค่าในพื้นที่

                หรือประเทศที่ส าคัญซึ่งมีระดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนสูง แนวทางนี้ส่งผลให้บริษัทเข้าใจสาเหตุของ

                ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และการพัฒนาวิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะกับแต่ละประเทศหรือท้องถิ่น และมี

                มุมมองใหม่และการระบุความเสี่ยงและผลกระทบจากการแลกเปลี่ยนโดยตรงกับผู้ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยัง

                เป็นบทเรียนเบื้องต้นในพื้นที่ให้กับบริษัทอื่นๆ และแผนกอื่นๆ ของบริษัท




                                                                                                          24
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29