Page 25 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 25
ข้อจ ากัดและความท้าทายของแนวทางนี้คือ ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสีย
มาตรฐานการเก็บข้อมูล และอาจไม่เหมาะส าหรับการกับทุกพื้นที่ปฏิบัติการภายใต้เวลาจ ากัด
3) การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบในทุกพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท (Regular Assessment of Compliance
Risks and Impacts at All Sites) เป็นการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของ
บริษัทและคุณภาพของการบูรณาการกับท้องถิ่น ประโยชน์ของแนวทางนี้คือ ท าให้เข้าใจบริบทด้านสิทธิมนุษยชน
ที่ลึกซึ้งมากขึ้นและจัดการความท้าทายจากการเผชิญกับการจัดการท้องถิ่น เป็นการสร้างมาตรฐานที่มาจากการ
พัฒนาวิธีด าเนินการและเครื่องมือด้านความเสี่ยงซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังถือเป็นจุด
คานงัดส าหรับมาตรการติดตามผ่านการบูรณาการเข้ากับธรรมาภิบาลของบริษัท
ข้อจ ากัดคือ การรวบรวมข้อมูลและกระบวนการติดตามใช้ทรัพยากรมาก และการระบุความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง
ขึ้นอยู่กับระดับของการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบและคุณภาพของกลไกเยียวยาในพื้นที่
4) การเลือกประเมินบางพื้นที่การผลิต (Compliance Assessment at Selected Production Sites) เป็นวิธีการ
สร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนภายในบริษัท เพื่อพิจารณาภาพรวมและการเปรียบเทียบพื้นที่ต่างๆ ว่ามี
การด าเนินการตามนโยบายของบริษัทอย่างไร มีการระบุประเด็นส าคัญและความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่
ต่างๆ ใช้ส าหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในกระบวนการ HRDD แนวทางนี้มีข้อจ ากัดคือ ข้อมูลที่ได้ไม่เพียงพอต่อการ
ระบุผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริง และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียภายนอกและกลุ่มผู้ได้รับ
ผลกระทบน้อยเกินไป
5) การประเมินผลกระทบในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งมุ่งเน้นมาตรฐานแรงงานและแรงงานเด็ก (Assessing Impacts
along a Single Supply Chain, Focusing on Labour Standards and Children's Rights) แนวทางนี้ช่วย
ท าให้บริษัทมีความเข้าใจลึกซึ้งต่อบริบททางสิทธิมนุษยชนและผลกระทบอย่างเฉพาะเจาะจงในระดับที่แตกต่าง
กันตลอดห่วงโซ่อุปทาน มีการนิยามและแก้ปัญหาร่วมกับซัพพลายเออร์และผู้มีส่วนได้เสีย และเพิ่มมุมมองให้กับ
แผนการท างานของบริษัทและระบบตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นการเลือกประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างจ ากัด
อีกทั้งการรวบรวมข้อมูลและกระบวนการติดตามใช้ทรัพยากรมาก
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งโดยตรงจากการด าเนินงานของบริษัท และสายสัมพันธ์ทาง
ธุรกิจ สิ่งที่ควรพิจารณาคือ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ก่อนที่จะด าเนินการประเมิน บริษัทต้อง
จัดท าแผนผังห่วงโซ่อุปทานและบริการต่างๆ รวมทั้งจัดล าดับความส าคัญ ดังนี้
1. จัดท าแผนผังห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ขี้นตอนจัดหาวัตถุดิบจนสิ้นสุดกระบวนการผลิต
25