Page 65 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 65
๕) การศึกษาวิจัย เรื่อง “มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ผู้ศึกษาวิจัย
: มูลนิธิพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ โดยสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (นายอดิศัย กุญชร ณ อยุธยา)
สาระส�าคัญ เป็นแนวทางการท�างานที่เป็นมาตรฐานส�าหรับการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และใช้อ้างอิง
ในการปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ มีความน่าเชื่อถือ
มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และได้รับการยอมรับจากทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เนื้อหาส่วนใหญ่จะอ้างอิงจาก
หลักการปารีส (Paris Principle) และผลการทบทวนเอกสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และจัดท�าโดยองค์กร
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ส�านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High
Commissioner for Human Rights : OHCHR)
จากรายงานการศึกษาวิจัย พบว่า สถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจจ�าเป็นต้องมีเพื่อให้ครบถ้วนตาม
มาตรฐานที่ก�าหนดไว้ในหลักการปารีสและแนวทางการประเมิน
ของ ICC ทั้งในเรื่อง (๑) การจัดตั้ง (Establishment) (๒) ความเป็นอิสระ
(Independence) ทั้งการปฏิบัติงานตามกฎหมาย การบริหารงบประมาณ
การแต่งตั้งและการถอดถอนจากต�าแหน่ง (๓) ความหลากหลาย
ในองค์ประกอบของผู้มีอ�านาจตัดสินใจ (๔) โครงสร้างในการบริหาร
จัดการองค์กร (Organizational Infrastructure) ที่เหมาะสม
และเป็นมาตรฐานทั้งการเข้าถึง (accessibility) การบริหารและ
พัฒนาองค์กร (Human Resource Management and Organization
Development) หลักการปารีสได้ก�าหนดมาตรฐานบทบาทของ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างน้อย ๕ งานส�าคัญ คือ
(๑) บทบาทในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Promotional Function)
(๒) บทบาทในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protecting Function)
และการท�างานกึ่งตุลาการ (Quasi-Jurisdictional Function)
(๓) บทบาทในการให้ค�าปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน (Advisory Function)
(๔) บทบาทในการเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Monitoring
Function) และ (๕) บทบาทในการท�างานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและ
องค์กรอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ (Relationship with
Stakeholders and Other Bodies) ทั้งนี้ สถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรรักษาสมดุล (Balance)
ของการปฏิบัติหน้าที่หลักทั้ง ๕ ด้านอย่างเหมาะสม ตามทรัพยากร
ที่จ�ากัด และล�าดับความส�าคัญตามยุทธศาสตร์และสถานการณ์
ของประเทศ
รายงานผลการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๕๘ 64 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ