Page 69 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 69
๓.๗.๒ ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APF)
กรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Forum of National Human
Rights Institutions หรือ APF) เป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใน
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปัจจุบัน APF มีสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเป็นสมาชิกทั้งสิ้น ๒๒ แห่ง แบ่งออกเป็นสมาชิกสามัญ (Full
Members) ซึ่งมีสิทธิในการออกเสียง จ�านวน ๑๕ แห่ง (ในรอบปี ๒๕๕๘ กสม. ของไทยยังคงสถานะสมาชิกสามัญใน APF ก่อนถูกลดสถานะลงใน
ช่วงต้นปี ๒๕๕๙) และสมาชิกสมทบ หรือ Associate Members ซึ่งไม่มีอ�านาจในการออกเสียง จ�านวน ๗ แห่ง
ในปี ๒๕๕๘ กสม. ได้ท�างานความร่วมมือกับ APF ดังนี้
๑) การประชุมประจ�าปีและการประชุมใหญ่ทุก ๒ ปี
APF ได้จัดการประชุมประจ�าปี และการประชุมใหญ่
ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒๐ ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ
กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย โดยประธาน กสม. พร้อมด้วย
คณะผู้แทนจากส�านักงาน กสม. โดยมีสาระส�าคัญ เช่น การรับรอง
แผนยุทธศาสตร์การท�างานของ APF (APF Strategic Plan) การเป็น
เจ้าภาพการประชุมประจ�าปีและการประชุมใหญ่ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒๒
ของ APF การปฏิรูปการบริหารงานของ APF (APF Governance
Reform) การจัดท�ายุทธศาสตร์ว่าด้วย การระดมเงินทุนสนับสนุน
และประเด็นอื่น ๆ เป็นต้น
๒) การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ
“The role of NHRIs in promoting and protecting the
rights of LGBTI in Asia – Pacific”
APF ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
(UNDP) ได้จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับบทบาท
ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในภูมิภาคเอเชีย
และแปซิฟิก ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ที่กรุงเทพฯ
ซึ่งมีประเด็นส�าคัญ เช่น การด�าเนินความพยายามในการสร้างความ
เข้มแข็งให้กับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการท�างาน เพื่อ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย
ทางเพศ การแสวงหาแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพโดยผ่านการ
ฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการสนับสนุนอื่น ๆ ที่
จะน�าไปสู่การจัดท�าแผนงานเพื่อพัฒนาการท�างานในด้านนี้ใน
ระดับภูมิภาค รวมถึงการจัดท�าข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยงานของ
สหประชาชาติ และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
รายงานผลการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๕๘ 68 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ