Page 35 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 35

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



        นอกจากสนธิสัญญาหลักและพิธีสารดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ยังมีอนุสัญญาด้านแรงงานที่จัดท�าขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
                                                                                ๔
        (International Labour Organization: ILO) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้ จ�านวน ๑๔ ฉบับ

        ๐๓


        กฎหมาย  กฎ  ระเบียบภายในประเทศ  นโยบาย  แผนงาน
        ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และที่
        ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อ ๐๑ และ ๐๒

        ๐๔


        ปฏิญญา ข้อมติ มาตรฐาน แนวทาง ข้อก�าหนดระหว่างประเทศ
        ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม
        และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนค�ามั่นต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้
        และ/หรือรับรองไว้ต่อประชาคมระหว่างประเทศ เช่น ในกระบวนการ
        เสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศต่อสหประชาชาติ
        (Universal Periodic Review: UPR)





             ในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๘ นั้น รายงานจะเทียบเคียงสถานการณ์และการด�าเนินงาน
             ของรัฐกับเกณฑ์หรือมาตรฐานข้างต้น และจะประเมินความก้าวหน้าหรือถดถอยในด้านนั้น ๆ โดย กสม. เห็นว่ารัฐมีหน้าที่
             รับผิดชอบในเบื้องแรก ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่เกิดขึ้นภายในเขตอ�านาจรัฐ รวมถึงบุคคล
             หรือกลุ่มบุคคลที่มีสัญชาติไทย และการด�าเนินการที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ โดยรัฐมีความรับผิดชอบ
             ใน ๓ ระดับ ดังนี้

        ๑                                                    ๓


        หน้าที่ในการเคารพ                                    หน้าที่ในการท�าให้สิทธิเกิดผลในทางปฏิบัติ

        (Obligation to Respect)                              ในการจัดท�า อ�านวยการให้เกิดขึ้นจริง
                                                             (Obligation to Fulfill)
        รัฐต้องไม่เข้าไปแทรกแซงการใช้สิทธิของประชาชน และไม่
        กระท�าการ หรือละเว้นการกระท�าใด ๆ ที่เป็นการกระท�าละเมิด    รัฐต้องด�าเนินการเชิงรุก (Positive Steps) ในการรับรอง
        สิทธิมนุษยชนเสียเอง                                  หรือประกันสิทธิของประชาชน เช่น การสร้างกรอบทางกฎหมาย
        ๒                                                    และนโยบาย รวมถึงการมีมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ประชาชน
                                                             ได้รับรู้ถึงสิทธิดังกล่าว การช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
        หน้าที่ในการคุ้มครอง                                 และได้ใช้สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองในกฎหมายภายใน
        (Obligation to Protect)                              และตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย

        รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลถูกละเมิด
        สิทธิจากบุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นใด เช่น ภาคเอกชน โดยรัฐ
        ต้องมีมาตรการดูแลไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ แต่หากเกิดการละเมิด
        รัฐต้องเข้ามาดูแลให้การคุ้มครอง



         ๔  ได้แก่ อนุสัญญาฉบับที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒๙ ฉบับที่ ๘๐ ฉบับที่ ๘๘ ฉบับที่ ๑๐๐ ฉบับที่ ๑๐๔ ฉบับที่ ๑๐๕ ฉบับที่ ๑๑๖ ฉบับที่ ๑๒๒ ฉบับที่ ๑๒๓ ฉบับที่ ๑๒๗ ฉบับที่
         ๑๓๘ และฉบับที่ ๑๘๒ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ <www.mol.go.th/en/node/3422> (เข้าดูเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙)
         5
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40