Page 180 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 180

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



               ๕.๒.๔  กลุ่มผู้สูงอายุ


                ๑  หลักการด้านสิทธิมนุษยชน



             สิทธิของผู้สูงอายุบัญญัติไว้ในตราสารระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
             และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในขณะที่หลักการองค์การสหประชาชาติ ๑๘ ประการส�าหรับผู้สูงอายุ ตลอดจนแผนปฏิบัติการ
             มาเก๊าว่าด้วยการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ปี ๒๕๔๒ แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ มาดริด
             ระยะที่ ๑ (ปี ๒๕๔๕) และระยะที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓) ก�าหนดหลักการส�าคัญครอบคลุม ๕ ส่วน ได้แก่ การมีอิสรภาพในการพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วม การ
             ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู การบรรลุความต้องการ และการได้รับการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ จากการทบทวนรายงาน

             UPR ครั้งที่หนึ่งของประเทศไทย เมื่อปี ๒๕๕๕ ประเทศไทยไม่ได้รับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม
             ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ ให้การรับรองสิทธิต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสารัตถะ
             ของสิทธิหลัก ๆ ที่รัฐบาลไทยให้การรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) รวมทั้ง
             แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ มาดริด ระยะที่ ๑ (ปี ๒๕๔๕) และระยะที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓) ซึ่งรัฐบาลได้ให้การรับรองแล้ว



                ๒  สถานการณ์ทั่วไป                                                                                   บทที่ ๕ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะบาง



              โดยเหตุที่ประเทศไทย และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก�าลังเผชิญหน้า
              กับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดการณ์ว่า
              ภายในปี ๒๕๘๓ ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ ๒๐
              ของประชากรโดยรวม และจะส่งผลให้สถานการณ์ปัญหา
              สิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุจะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

              ในส่วนของสิทธิที่จะได้รับการบริการทางการแพทย์และการ
              สาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
              พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓  หมายถึง บริการด้านการแพทย์
              และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ
              การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการ
              ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จ�าเป็นต่อสุขภาพและการด�ารงชีวิต โดยให้
              รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก   สาธารณสุขได้ก�าหนดให้หน่วยบริการระดับโรงพยาบาลของรัฐ
              ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งมาตรา ๕ บัญญัติ   จัดให้มีช่องทางเฉพาะส�าหรับผู้สูงอายุแยกจากผู้รับบริการ
              ให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน   ทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งแม้ว่าในทางปฏิบัติโรงพยาบาล
              และมีประสิทธิภาพตามที่ก�าหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ผลของ   ส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังมีข้อจ�ากัดเรื่องบุคลากรที่ไม่เพียงพอ
              การมีกฎหมายดังกล่าวท�าให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ   จึงท�าให้ยังไม่สามารถด�าเนินการดังกล่าวได้ แต่ในอนาคต
              ต้องจัดบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขโดยให้ความ   โรงพยาบาลต่าง ๆ คงจะได้หาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้
              สะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ โดยกระทรวง   สามารถจัดบริการแก่ผู้สูงอายุตามที่กฎหมายก�าหนดได้


              ในประเด็นสิทธิในการได้รับบริการด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการด�าเนินชีวิต ซึ่งในพระราชบัญญัติ
              ผู้สูงอายุมิได้ก�าหนดรายละเอียดการจัดบริการการศึกษาส�าหรับผู้สูงอายุไว้ แต่รายละเอียดต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากกฎหมายอื่น
              ที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้ก�าหนดหลักการในการศึกษาให้ผู้สูงอายุสามารถศึกษาหาความรู้
              เพื่อน�ามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้หลายทางที่ส�าคัญ ได้แก่ (๑) การศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นการหาความรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้
              จากประสบการณ์ การท�างาน จากบุคคลและจากสถานที่ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา (๒) การเรียนรู้จากศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่จัดการศึกษา




                                                                                                          150
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185