Page 175 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 175

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



        >> การจ้างงานคนพิการ

        ประเทศไทยได้มีกฎหมายที่ส่งเสริมการจ้างงาน คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม
        พ.ศ. ๒๕๕๖) ได้ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ ให้มีการจ้างงานคนพิการตามสัดส่วนที่กฎหมายก�าหนด มาตรา ๓๔ ให้นายจ้างหรือสถานประกอบ
        การจ่ายเงินชดเชยเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  และมาตรา  ๓๕  ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการให้สัมปทาน
        หรือความช่วยเหลือใด ๆ แก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการในการประกอบอาชีพ ซึ่งตามข้อมูลมีคนพิการที่อยู่ในวัยท�างาน (อายุ ๑๕-๖๐
        ปี) จ�านวน ๗๘๗,๓๓๐ คน แต่มีคนพิการที่ประกอบอาชีพเพียง ๒๕๓,๓๑๔ คน เท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป หรือ
        ร้อยละ ๓๘.๒๙ ของคนพิการที่ประกอบอาชีพ และมีคนพิการที่ประกอบอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือ เพียงร้อยละ ๑.๔๗ ซึ่งเป็นอาชีพ
        ที่มีจ�านวนคนพิการท�างานน้อยที่สุด ๒๒๙



        ทั้งนี้ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ    โดยกว้าง เพื่อขจัดอคติที่มีต่อคนพิการ รวมถึงการเพิ่มโอกาส
        พ.ศ. ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖) ก�าหนดให้นายจ้าง  และมีการฝึกฝนทักษะความรู้เพื่อสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ
        หรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการ   ตลอดจนการขับเคลื่อนมาตรการการจ้างงานคนพิการโดยเฉพาะ
        เข้าท�างานในสัดส่วนที่เหมาะสมในอัตรา ๑๐๐ คนต่อคนพิการ ๑ คน   การจ้างงานหญิงพิการให้เป็นรูปธรรม
        และหากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับคน
        พิการเข้าท�างานตามจ�านวนที่ก�าหนด ให้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริม
        และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามอัตราที่กฎหมายก�าหนด
        และหากผู้ประกอบการไม่รับคนพิการเข้าท�างาน และไม่ประสงค์ส่ง
        เงินเข้ากองทุน หน่วยงานรัฐหรือเจ้าของสถานประกอบการ อาจให้
        สัมปทานจัดสถานที่จ�าหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงาน
        ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอ�านวยความสะดวก ล่ามภาษามือ
        หรือการช่วยเหลือต่าง ๆ ให้กับคนพิการหรือผู้ดูแลก็ได้

        ในเรื่องนี้ คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
        มีข้อสังเกตว่ารัฐควรเพิ่มความตระหนักรู้ให้แก่นายจ้างและสังคม



        >> การเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ

        เนื่องจากการด�ารงชีวิตของคนพิการ จ�าเป็นต้องมีสิ่งอ�านวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อประเภทความพิการที่ให้คนพิการเข้าถึงได้
        และเพื่อให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป ซึ่งรัฐได้เห็นความส�าคัญโดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
        ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ก�าหนดให้โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และสถานีต�ารวจ จัดท�าสิ่งอ�านวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน
        ส�าหรับคนพิการอย่างน้อย ๕ ประเภท ได้แก่ ทางลาด ห้องน�้า ที่จอดรถ ป้าย และบริการข้อมูลภายในปี ๒๕๕๘ ทั้งนี้ การปฏิบัติตามมติ
        คณะรัฐมนตรีดังกล่าวนั้น ยังไม่สามารถครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งยังประสบปัญหาอุปสรรค เช่น ปัญหาโครงสร้าง
        อาคารเดิมไม่เอื้อต่อการปรับสภาพแวดล้อม บุคลากรที่เป็นนายช่างโยธาอาจขาดความรู้ความเข้าใจ ท�าให้การปรับสภาพแวดล้อมไม่เป็น
        ไปตามมาตรฐานสากล แต่ทั้งนี้ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
        แห่งชาติ ได้จัดการอบรมให้แก่บุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบเพื่อให้การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อคนพิการบรรลุตามเป้าหมาย
        รวมถึงมีแนวทางส่งเสริมการสร้าง อารยสถาปัตย์ การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เพื่อให้คนพิการใช้ชีวิตได้สะดวกยิ่งขึ้น

        มีข้อสังเกตจาก คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ โดยคณะกรรมการฯ เป็นห่วงเรื่องการขาดการด�าเนินงาน
        ตามกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ห่างไกลและชนบท รวมถึงการบังคับใช้
        มาตรการอย่างมีประสิทธิภาพ และบทลงโทษส�าหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย



        ๒๒๙   รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๑
        ธันวาคม ๒๕๕๘


         145
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180