Page 156 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 156
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิเข้าถึงโครงการฝึกอบรม และโครงการด้านการศึกษาที่เหมาะสม ข้อ ๕ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิที่จะอาศัยอยู่
ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และสามารถที่จะปรับให้เข้ากับความพึงพอใจส่วนบุคคล และความสามารถที่เปลี่ยนไป และข้อ ๖
ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิที่จะพักอาศัยอยู่ที่บ้านของตนเองได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
• ส่วนที่สอง การมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ๓ ข้อ คือ ข้อ ๗ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิคงอยู่ในสังคม และมีส่วนร่วม
อย่างแข็งขันในการก�าหนดและด�าเนินนโยบายที่มีผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่อันดีของผู้สูงอายุ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้
และทักษะกับคนรุ่นใหม่ ข้อ ๘ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิที่จะแสวงหาและพัฒนาโอกาสในการให้บริการแก่ชุมชน และท�างานอาสาสมัคร
ในต�าแหน่งที่เหมาะสมกับความสนใจและความสามารถ และข้อ ๙ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิที่จะก่อตั้งขบวนการ หรือสมาคมเพื่อผู้สูงอายุ
• ส่วนที่สาม การอุปการะเลี้ยงดู ประกอบด้วย ๔ ข้อ คือ ข้อ ๑๐ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิที่จะได้รับการอุปการะ
เลี้ยงดู และการปกป้องคุ้มครองจากครอบครัวและชุมชน ตามคุณค่าวัฒนธรรมของแต่ละระบบสังคม ข้อ ๑๑ ผู้สูงอายุพึงมี
สิทธิเข้าถึงบริการด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้สามารถและคงไว้ หรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
ให้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์ที่สุด และเพื่อช่วยป้องกัน หรือชะลอการเกิดภาวะเจ็บป่วยอีกด้วย ข้อ ๑๒ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิได้รับบริการ
ด้านสังคม และกฎหมาย เพื่อส่งเสริมอิสรภาพในการด�าเนินชีวิต การปกป้องคุ้มครอง และการอุปการะเลี้ยงดู ข้อ ๑๓ ผู้สูงอายุ
พึงมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงดูในสถานสงเคราะห์ ซึ่งจะให้บริการด้านการปกป้อง คุ้มครอง การฟื้นฟูสมรรถภาพ
และการกระตุ้นทางด้านจิตใจ และสังคม ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และบรรยากาศที่เป็นมิตรตามความเหมาะสมกับสถานภาพ
และความต้องการ และข้อ ๑๔ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิมนุษยชนทั้งปวง และเสรีภาพขั้นพื้นฐานในขณะที่อยู่ในสถานการณ์ใด ๆ
หรือในสถานที่ให้บริการดูแล รักษา รวมทั้งพึงได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรี ความเชื่อ ความต้องการ และความเป็นส่วนตัว บทที่ ๕ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะบาง
ตลอดจนสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดู และคุณภาพชีวิตของตนเอง
• ส่วนที่สี่ การบรรลุความต้องการ ประกอบด้วย ๒ ข้อ คือ ข้อ ๑๕ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิที่จะแสวงหาโอกาส
ในการพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ และข้อ ๑๖ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิเข้าถึงแหล่งการศึกษา วัฒนธรรม ความเชื่อทาง
ศาสนา และนันทนาการในสังคม
• ส่วนที่ห้า การได้รับการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วย ๒ ข้อ คือ ข้อ ๑๗ ผู้สูงอายุ
พึงมีสิทธิที่จะด�ารงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความมั่นคงปลอดภัยปราศจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ตลอดจนการปฏิบัติ
อย่างทารุณทั้งทางร่างกาย และจิตใจ และข้อ ๑๘ ผู้สูงอายุพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมโดยไม่ค�านึงถึงความแตกต่าง
ทางวัย เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภูมิหลัง ศาสนา ความพิการ เศรษฐสถานะ หรือสถานภาพอื่นใด
๓) หลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles) ว่าด้วยการประยุกต์ใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศในประเด็นวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ
หลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles) คือ กรอบแนวทางการประยุกต์ใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชน
กับประเด็นวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ โดยพัฒนาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากองค์การสหประชาชาติ และผู้แทน
จากเครือข่ายภาคประชาสังคม และองค์กรสิทธิมนุษยชนด้านวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ ระบุแนวทางหลักในการน�ากฎหมาย
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาใช้ให้เกิดผลการปฏิบัติงานจริง มีการด�าเนินการที่สะดวกขึ้น และมีแนวทางที่ชัดเจน
ให้รับด�าเนินการต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีพื้นฐานมาจากวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ โดยเน้นย�้าหลักส�าคัญ คือ การไม่เลือก
ปฏิบัติและการห้ามกระท�าการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือสร้างความรุนแรงใด ๆ โดยเหตุแห่งการแสดงออก
ของวิถี และอัตลักษณ์ทางเพศ
หลักการยอกยาการ์ตามีบทบัญญัติ ๒๙ ข้อ ซึ่งมีสารัตถะของสิทธิที่จะต้องไม่ถูกกีดกัน แบ่งแยก หรือละเมิด
ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับวิถีทางเพศ (Sexual Orientation) และเพศสภาพ (Gender Identity) ของบุคคล กล่าวคือ สิทธิที่จะ
ได้ประโยชน์จากสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกับคนทั่วไป (ข้อ ๑) สิทธิที่จะเท่าเทียมผู้อื่น และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ (ข้อ ๒) สิทธิใน
การด�ารงชีวิต (ข้อ ๓) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยของบุคคล (ข้อ ๔-๕) สิทธิที่จะมีพื้นที่ส่วนตัว (สิทธิส่วนบุคคล) (ข้อ ๖)
สิทธิที่จะมีอิสระจากการถูกลิดรอนเสรีภาพโดยพลการ (ข้อ ๗) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (ข้อ ๘) สิทธิที่จะ
ได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมขณะถูกคุมขัง (ข้อ ๙) สิทธิที่จะถูกคุ้มกัน หรือไม่ได้รับการทรมาน และการลงโทษ
หรือการปฏิบัติอย่างทารุณ ไร้มนุษยธรรม หรือหยามเกียรติ (ข้อ ๑๐) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากการซื้อขายมนุษย์ทุกรูปแบบ
126