Page 151 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 151

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



                         ๖)  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD)

                           ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
             โดยท�าค�าแถลงตีความ ๑ ข้อ เกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้ภายในประเทศต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ
             สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และได้ท�าข้อสงวนไว้ ๒ ข้อ ได้แก่ ข้อ ๔ ในเรื่องการด�าเนินมาตรการ
             ขจัดการเลือกปฏิบัติเท่าที่จ�าเป็น และ ข้อ ๒๒ ในเรื่องการระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
                           เนื้อหาของอนุสัญญามี ๓ ส่วน ๒๕ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๗) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ โดยก�าหนด
             ความหมายของ “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” การตีความและมาตรการพิเศษที่จัดขึ้นตามความจ�าเป็นด้วยเจตนาเพื่อประกัน
             ความก้าวหน้าของหมู่ชนบางกลุ่มที่ต้องการความคุ้มครองและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การประณามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
             และการประกันการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลกลุ่มหรือสถาบัน หรือสนับสนุนการเลือกปฏิบัติเหล่านี้ การด�าเนินมาตรการ
             ที่จะแก้ไขกฎระเบียบที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่เหมาะสมและสนับสนุนการประสานเชื้อชาติเข้าด้วยกัน การจัดให้
             มีมาตรการพิเศษชั่วคราวเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม เพื่อให้ได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาค การประณาม
             การแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ผิว การโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องความเหนือกว่าของบางชนกลุ่ม การเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ
             การลงโทษตามกฎหมายแก่การกระท�าที่ประณามเหล่านี้ และห้ามการด�าเนินการส่งเสริมกระตุ้นการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่
             ของรัฐ การประกันสิทธิของทุกคนให้เสมอภาคกันตามกฎหมายภายใต้ศาลและกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองของรัฐ
             การใช้สิทธิอย่างทั่วถึงและเสมอภาคในทางการเมือง กิจกรรมสาธารณะและบริการสาธารณะ สิทธิของพลเมืองในเรื่องต่าง ๆ
             ทุกเรื่อง เช่น การมีถิ่นพ�านัก การครองสัญชาติ การสมรสและเลือกคู่สมรส การรับมรดก สิทธิเสรีภาพทางความคิดเห็น
             การนับถือศาสนา การชุมนุม สิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านการท�างาน ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุข
             การศึกษา กิจกรรมทาง วัฒนธรรมและบริการต่าง   ๆ และการประกันสิทธิของรัฐที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนในอาณาเขตจาก
             การเลือกปฏิบัติเหล่านี้ รวมถึงสิทธิที่จะร้องขอค่าทดแทนจากศาลเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเป็นผลจากการเลือกปฏิบัติเหล่านี้
             ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๘-๑๖) ว่าด้วยคณะกรรมการ การเสนอรายงาน การรับข้อร้องเรียนระหว่างรัฐ การด�าเนินการ การไกล่เกลี่ย
             และการยุติข้อพิพาทของคณะกรรมการ และส่วนที่ ๓ (ข้อ ๑๗-๒๕) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี

                           การมีผลบังคับใช้เงื่อนไขในการตั้งข้อสงวนและการถอนข้อสงวน การเพิกถอนอนุสัญญา และการเสนอ
             ข้อพิพาทสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

                         ๗) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายี
             ศักดิ์ศรี (CAT)

                           ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CAT โดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน
             ๒๕๕๐ โดยท�าค�าแถลงตีความ ๓ ข้อ คือ (๑) ข้อ ๑ การตีความค�าว่า “ทรมานฯ” ให้สอดคล้องกบประมวลกฎหมายอาญา (๒)
             ข้อ ๒ การก�าหนดโทษทางอาญาให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญา (๓) ข้อ ๕ การก�าหนดเขตอ�านาจศาลส�าหรับความผิด
             ฐานทรมานฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายอาญา และได้ท�าข้อสงวนไว้ ๑ ข้อ เรื่องการระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
                           เนื้อหาของอนุสัญญามี ๒ ส่วน ๓๓ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๑๖) ก�าหนดนิยามของค�าว่า “การทรมาน” ซึ่งในที่นี้
             หมายถึง การกระท�าใดก็ตามโดยเจตนาที่ท�าให้เกิดความเจ็บปวด หรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสไม่ว่าทางกายภาพ หรือทาง
             จิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้วยความมุ่งประสงค์เพื่อให้ข้อสนเทศ หรือค�าสารภาพจากบุคคลนั้น หรือบุคคลที่สาม การลงโทษ
             บุคคลนั้นส�าหรับการกระท�า ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระท�า หรือสงสัยว่าได้กระท�า รวมทั้งการบังคับขู่เข็ญ โดยมุ่งเน้น
             ไปที่การกระท�าหรือโดยความยินยอมของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือบุคคลอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในต�าแหน่งทางการ ทั้งนี้ รัฐมีพันธกรณี
             ที่จะต้องก�าหนดให้การทรมานฯ เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ก�าหนดมาตรการป้องกันการทรมานฯ ก�าหนดให้ “การทรมาน”
             เป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญา ก�าหนดเขตอ�านาจที่เป็นสากลเกี่ยวกับความผิดการทรมาน พร้อมทั้งก�าหนดให้เป็น
             ความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ นอกจากนั้น อนุสัญญาฯ ยังระบุให้รัฐภาคีก�าหนดมาตรการสืบสวน สอบสวน รวมทั้งด�าเนินคดีที่
             เหมาะสมกับคดีทรมาน พร้อมทั้งให้ด�าเนินการเผยแพร่ความรู้ และจัดฝึกอบรมหลักการและสาระส�าคัญของอนุสัญญาฯ ให้กับ
             ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และก�าหนดให้มีมาตรการที่เหมาะสมในการเยียวยาเหยื่อที่ถูกทรมานฯ รวมทั้งก�าหนดมาตรการป้องกัน
             การกระท�า หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย�่ายีศักดิ์ศรีด้วย ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๑๗-๓๓) ว่าด้วยคณะอนุกรรมการ
             ต่อต้านการทรมานฯ การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ การเสนอรายงาน การระงับข้อพิพาท ฯลฯ



         121
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156