Page 152 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 152
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๘) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (CED)
อนุสัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อระงับยับยั้งการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยการกระท�าของเจ้าหน้าที่รัฐ
โดยก�าหนดให้บุคคลจะถูกกระท�าให้หายสาบสูญโดยถูกบังคับไม่ได้และไม่มีพฤติการณ์พิเศษใดไม่ว่าจะเป็นสภาวะสงคราม
หรือสภาพคุกคามที่จะเกิดสงคราม หรือเหตุอื่นใดมาเป็นข้ออ้างส�าหรับการกระท�าให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับได้ ซึ่งรัฐภาคี
ต้องด�าเนินมาตรการที่จ�าเป็นเพื่อประกันว่าการหายสาบสูญโดยถูกบังคับเป็นฐานความผิดภายใต้กฎหมายอาญาของตน
และต้องด�าเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อสอบสวนและน�าตัวผู้กระท�าความผิดมาด�าเนินคดี และต้องก�าหนดบทลงโทษ
และอายุความที่เหมาะสมและร้ายแรงของความผิด โดยรัฐภาคีต้องปฏิบัติตามในข้อบทที่ ๑-๒๕ แม้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในระหว่าง
กระบวนการให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคี ซึ่งอนุสัญญาฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย แต่รัฐบาลก็จะต้องไม่กระท�า
การใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสาระและความมุ่งประสงค์ (Object and Purpose) ของอนุสัญญาดังกล่าว
๙) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรพิธีสารว่าด้วยการ
ป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก
ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะ
องค์กร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ และพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก
เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ และให้สัตยาบันตราสารทั้งสองฉบับ โดยมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษ การค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก มีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์โดยให้ความส�าคัญเป็นพิเศษกับสตรีและเด็ก โดยได้ก�าหนดให้การค้ามนุษย์เป็นความผิด บทที่ ๕ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะบาง
ทางอาญา และก�าหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เช่น การให้พิจารณาคดีโดยลับ การจัดให้มี
การฟื้นฟูทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางสังคม และการก�าหนดแนวทางในการส่งกลับเหยื่อจากการค้ามนุษย์ไปยังประเทศต้นทาง
ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรม
ข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกฎหมายอนุวัติการส�าหรับ
อนุสัญญาและพิธีสารดังกล่าวแล้ว
๕.๑.๓ ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
• การเข้าเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ข้อ ๓ การศึกษาความเป็นไปได้ในการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการ
หายสาบสูญโดยถูกบังคับ/พิธีสารเลือกรับฉบับที่ ๒ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง/พิธีสาร
เลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ/พิธีสารเลือกรับฉบับที่ ๑ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง/พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม/อนุสัญญา
ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกครอบครัว/และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
คนพิการ (อาร์เจนตินา)
ข้อ ๔ การให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติตามความเหมาะสมต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคน
จากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (อุรุกวัย)
ข้อ ๕ การลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับ (สเปน)
ข้อ ๖ การให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
(ออสเตรเลีย)
ข้อ ๗ การให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
และสอบสวนข้อกล่าวหาทั้งหมดเกี่ยวกับการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ฝรั่งเศส)
ข้อ ๘ การลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
ในทันที (นิการากัว)
122