Page 153 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 153

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



                           ข้อ ๙  การลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ
             โดยถูกบังคับโดยเร็ว (ญี่ปุ่น)

                           •  การคุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้แสวงหาที่พักพิง
                           ข้อ ๗๔  การด�าเนินมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการจับกุมคุมขังตามอ�าเภอใจ การใช้ความรุนแรง
             การละเมิดและการแสวงประโยชน์จากผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (บราซิล)

                           ข้อ ๗๖   การเน้นความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อประกันการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน
             และแรงงานต่างชาติทุกคนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมความปลอดภัยและสวัสดิการส�าหรับกลุ่มคนดังกล่าว
             (เมียนมา)

                           ข้อ ๗๗   การด�าเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน
             (บังคลาเทศ)

                           ข้อ ๗๙   การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรอบกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว
             เพื่อคุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ผู้แสวงหาที่พักพิง และผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
                           ข้อ ๘๑  การประกันให้ผู้ย้ายถิ่นฐานที่พบในทะเลได้รับมาตรการคุ้มครองอย่างเต็มที่ ตามที่ควรจะได้รับ
             ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

                           ข้อ ๘๒ การประกันการเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับ ในกรณีของผู้แสวงหาที่พักพิง และผู้ลี้ภัย/
             การหลีกเลี่ยงการปิดพื้นที่พักพิงบริเวณชายแดนตะวันตกก่อนเวลาอันสมควร ในขณะที่ยังไม่พร้อมจะน�าเงื่อนไขส�าหรับ
             การกลับโดยสมัครใจ ปลอดภัยและสมศักดิ์ศรีมาใช้ / การดูแลความต้องการด้านความคุ้มครองของกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ อาทิ
             กลุ่มชาวโรฮินจา โดยให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

                           ข้อ ๘๔   การด�าเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย
             แห่งสหประชาชาติ รวมถึงประเทศผู้บริจาค และองค์กรเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จ�าเป็น และคุ้มครอง
             สิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ลี้ภัยที่ประเทศไทยให้ที่พักพิง
                            •  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                           ข้อ ๓๘   การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันและความเหลื่อมล�้าในสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุ
             ของความขัดแย้งทางสังคมและความไม่สงบทางการเมืองในช่วง ๒ - ๓ ปี ที่ผ่านมา รวมทั้งในภาคใต้ของประเทศไทย

                           ข้อ ๓๙   แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างขั้นพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน
             ในการเข้าถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ของคนยากจนและคนชายขอบ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้สิทธิของตนเองได้
             ตามที่ระบุไว้ในแผนและนโยบายการปฏิรูปประเทศ

                           ข้อ ๔๐   ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องในการปรับใช้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
             โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อลดความยากจน
                           ข้อ ๔๑   ด�าเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อมุ่งช่วยเหลือคนยากจนและผู้ด้อย
             โอกาส เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีมาตรฐานการด�ารงชีวิตที่เพียงพอ

                           ข้อ ๔๒   ด�าเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งให้กับแผนงานด้านสังคมที่ประสบผลส�าเร็จ
             นับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความจ�าเป็นในการต่อสู้กับความยากจนและการกีดกันทางสังคมบนพื้นฐานของการกระจายความมั่นคง
             อย่างเป็นธรรม อันจะน�าไปสู่การบรรลุสวัสดิการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปส�าหรับประชาชน

                           ข้อ ๔๓   ด�าเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านการท�างาน สิทธิด้านสุขภาพ
             และสิทธิด้านการศึกษาของประชาชน เพื่อให้ด�ารงไว้ซึ่งมาตรฐานการด�ารงชีวิตที่เพียงพอของทุกคน






         123
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158