Page 155 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 155
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๕.๑.๔ กรอบข้อตกลงอื่น ๆ
๑) ปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยทศวรรษคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๖๕
และยุทธศาสตร์อินชอน (Incheon Strategy)
ปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยทศวรรษคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๕ และยุทธศาสตร์อินชอน
เป็นการแสดงความมุ่งมั่นในการสร้างสิทธิของคนพิการให้เป็นจริง (Make the Rights Real) โดยมีกรอบการด�าเนินการสร้าง
และเสริมความเข้มแข็งให้กับกลไกความร่วมมือด้านคนพิการ ทั้งระดับชาติ ระดับอนุภูมิภาค และระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริม
และสนับสนุนการด�าเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับการท�าให้สิทธิของคนพิการเกิดขึ้น และเป็นจริงได้ ครอบคลุมทั้งการจัดท�าระบบ
ข้อมูลและสารสนเทศ การเสริมสร้างความร่วมมือในระดับพหุภาคี เพื่อความก้าวหน้า การสร้างและยกระดับความตระหนักรู้
เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการตามแผนยุทธศาสตร์ ระหว่างปี ๒๕๕๖-๒๕๖๕
กลไกความร่วมมือในระดับชาติด้านคนพิการมีหน้าที่ต่าง ๆ ได้แก่ (ก) การขับเคลื่อนหน่วยงานในระดับ
กระทรวง กรม และสถาบันของรัฐในทุกระดับ ตลอดจนภาคประชาสังคม องค์กรของคนพิการ และองค์กรเพื่อคนพิการ
กลุ่มสนับสนุนครอบครัวคนพิการ สถาบัน วิจัย และภาคเอกชน เพื่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในทุกระดับทั่วประเทศ
เพื่อการด�าเนินการตามยุทธศาสตร์อินชอน (ข) การพัฒนา ตรวจสอบ และรายงานการด�าเนินงานตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ
เพื่อบรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์อินชอน (ค) การแปลงยุทธศาสตร์อินชอนเป็นภาษาประจ�าชาติต่าง ๆ
และประกันว่ายุทธศาสตร์อินชอนได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบที่คนพิการทุกประเภทสามารถเข้าถึงได้ เพื่อการเผยแพร่ที่เข้าถึง
ทุกภาคส่วน และทุกระดับการปกครอง (ง) การรณรงค์ในระดับชาติและในระดับภายในประเทศ เช่น การรณรงค์ “การท�าสิทธิ
ให้เป็นจริง” เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตลอดช่วงทศวรรษเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน เจตคติ และค่านิยมการปฏิบัติ
ที่ดีต่อคนพิการ และ (จ) การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์คนพิการ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการวางนโยบาย
ทั้งนี้ คณะท�างานระดับประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติควรสนับสนุน การสร้างและการท�างาน
ของกลไกความร่วมมือระดับชาติตามที่มีความต้องการโดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเป็นตัวแทน การประสานและร่วมมือกัน
เพื่อน�าไปสู่การด�าเนินการตามยุทธศาสตร์อินชอน รวมทั้งความร่วมมือในระดับภายในประเทศ นอกจากนั้น ยังมีกองทุน
เพื่อการท�าสิทธิให้เป็นจริงซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย และอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อน�ามาใช้ในการด�าเนินการตามปฏิญญารัฐมนตรีว่า
ด้วยทศวรรษคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๕ และยุทธศาสตร์อินชอน กองทุนดังกล่าวจะช่วยให้องค์กร
ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรของคนพิการ และองค์กรเพื่อคนพิการสามารถมีส่วนร่วมในการด�าเนินการ
ตามปฏิญญารัฐมนตรีและยุทธศาสตร์อินชอน และส่งเสริมการตอบสนองต่อความปรารถนาและความจ�าเป็นของคนพิการโดย
ต่อเนื่องตลอดทศวรรษ
๒) หลักการองค์การสหประชาชาติ ๑๘ ประการส�าหรับผู้สูงอายุ ตลอดจนแผนปฏิบัติการมาเก๊าว่าด้วย
การด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ปี ๒๕๔๒ แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาดริด
ระยะที่ ๑ (ปี ๒๕๔๕) และระยะที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓) ๑๘๕
องค์การสหประชาชาติได้รับรองหลักการ ๑๘ ประการส�าหรับผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๕ โดย
ส่วนหนึ่งมีความเชื่อมโยง และใช้เป็นข้อก�าหนดเบื้องต้นในการจัดท�าแผนปฏิบัติการมาเก๊าว่าด้วยการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุใน
ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ปี ๒๕๔๒ แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาดริด ระยะที่ ๑ (ปี ๒๕๔๕) และระยะ
ที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓) ครอบคลุมเนื้อหาส�าคัญใน ๕ ส่วน คือ
• ส่วนที่หนึ่ง การมีอิสรภาพในการพึ่งตนเอง ประกอบด้วย ๖ ข้อ คือ ข้อ ๑ ผู้สูงอายุมีสิทธิที่จะได้รับอาหาร
น�้า ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และการดูแลสุขภาพอย่างเพียงพอ ทั้งจากการจัดสรรรายได้ การสนับสนุนช่วยเหลือจากครอบครัว
และชุมชน ตลอดจนการช่วยเหลือตนเอง ข้อ ๒ ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการก�าหนดการเกษียณอายุการท�างาน
๑๘๕ รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ < www.dop.go.th/main/law_lost.php?=31 > (เข้าดู ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๙)
125