Page 132 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 132

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘




              ๒.๔  ข้อเรียกร้องด้านแรงงาน

              ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๘ องค์กรด้านแรงงานได้พยายามเรียกร้องสิทธิด้านแรงงานต่อรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันแรงงาน
              แห่งชาติ ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขให้กับผู้ใช้แรงงาน อาทิ การเรียกร้องให้รัฐบาลเร่ง
              ให้การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  (ILO)  ฉบับที่  ๘๗  และ  ๙๘  การให้รัฐบาลเร่งตรากฎหมายต่าง  ๆ
              เช่น กฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบการปิดกิจการ เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย พระราชกฤษฎีกา
              การจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และเร่งน�า (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ฉบับแก้ไข
              เพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงานเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นต้น การให้รัฐบาลปฏิรูปหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
              เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการท�างานให้มากขึ้น เช่น ต้องการยกสถานะส�านักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน
              การยกสถานะส�านักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ การให้รัฐบาลยุตินโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น




                ๓  สถานการณ์ปี ๒๕๕๘



               ๓.๑  การด�าเนินการที่ส�าคัญของรัฐ                                                                     บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม


             รัฐบาลได้ด�าเนินการเพื่อให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานไทยให้มีมากขึ้นหลายประการ อาทิ การตราพระราชกฤษฎีกา
             จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�างาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๙
             พฤษภาคม ๒๕๕๘ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�างานให้เป็นไปด้วยความคล่องตัว รวดเร็ว และมี
                                                                                           ๑๖๐
             ประสิทธิภาพ การจัดโครงการส่งเสริม  ให้สถานประกอบการจัดสวัสดิการมุมนมแม่ ศูนย์เลี้ยงดูบุตรผู้ใช้แรงงาน  การออกหน่วยเคลื่อนที่
             เพื่อให้บริการงานประกันสังคมแบบเบ็ดเสร็จ (Service Delivery Unit) แก่ประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย กิจกรรมประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับ
             การรับขึ้นทะเบียน รับช�าระเงินสมทบผู้ประกันตน ตอบปัญหา และส่งเสริมให้มีการช�าระเงินสมทบล่วงหน้าของผู้ประกันตนตามมาตรา
             ๔๐ การจัดท�า Smart Labour Application โดยพัฒนาระบบการให้บริการด้านแรงงานเพื่อให้ประชาชนและคนท�างานเข้าถึงบริการของ
             ภาครัฐได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย รวมถึงการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงาน ซึ่งในเรื่องนี้คณะกรรมการประจ�ากติกา
             ICESCR  ได้ชื่นชมที่ประเทศไทยให้การรับรองกฎหมายหลายฉบับ  เช่น  กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล

             พ.ศ. ๒๕๕๗ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ รวมทั้งความพยายามในการส่งเสริมการปฏิบัติตามสิทธิ
             ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประกอบด้วย การให้การรับรองนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปราม
             การค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก นโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อขจัดการจ้างงานเด็กที่เลวร้ายที่สุด
             พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๕๗ เป็นต้น
























             ๑๖๐   อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่รายงาน “สัญญาจ้างอยุติธรรม: การเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทยในภาคเกษตรกรรมของอิสราเอล” (A Raw Deal: Abuses of Thai Workers in Israel’s
             Agricultural Sector), กลุ่มเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) ในนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา


                                                                                                          102
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137