Page 130 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 130
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๒.๒ ค่าแรงขั้นต�่า
เมื่อปี ๒๕๕๔ รัฐบาลได้แถลงนโยบายที่จะด�าเนินการให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้วันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท โดยมีการน�าร่องในการให้ค่าแรง
ขั้นต�่าของแรงงานในอัตรา ๓๐๐ บาท มาตั้งแต่ช่วงกลางปี ๒๕๕๕ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ถือเป็นวันแรกที่ “ค่าแรงขั้นต�่า
๓๐๐ บาท” มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ๗๗ จังหวัด ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีทั้งเสียงตอบรับและคัดค้านกับอัตราค่าแรงขั้นต�่าดังกล่าว
ซึ่งปัจจุบันมีการเรียกร้องจากกลุ่มแรงงานให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต�่าจากวันละ ๓๐๐ บาท เป็น ๓๖๐ บาท และ ๔๒๑ บาทต่อวัน เพื่อให้เพียงพอ
ต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้นในปัจจุบัน หากเปรียบเทียบอัตราค่าแรงขั้นต�่าของประเทศกับประชาคมในกลุ่มอาเซียน จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย
มีอัตราค่าแรงขั้นต�่าเฉลี่ยต่อวันเป็นอันดับ ๔ จากประเทศกลุ่มอาเซียน ๑๐ ประเทศ ซึ่งมี ๓ ประเทศที่มีค่าแรงเฉลี่ยสูงกว่าประเทศไทย
และมีประเทศที่มีค่าแรงเฉลี่ยต�่าสุด ๓ อันดับสุดท้าย คือ ลาว เมียนมา และกัมพูชา บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ประเทศ รายได้/เดือน (บาท) เฉลี่ยรายได้ต่อวัน (บาท)
บรูไนดารุสซาลาม ๕๕,๐๐๐ ๑,๘๐๐
สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๒๕,๐๐๐ ๘๐๐-๙๐๐
มาเลเซีย ๙,๐๐๐ ๓๐๐
ราชอาณาจักรไทย ๙,๐๐๐ ๓๐๐
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๘,๐๐๐-๙,๐๐๐ ๒๗๐-๓๐๐
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๕,๑๐๐ ๑๗๐
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม ๓,๐๐๐ ๑๐๐
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๒,๕๐๐ ๘๓
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ๒,๑๐๐ ๗๐
ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑,๗๐๐ ๕๖
ที่มา : บทความเรื่อง “ค่าแรงขั้นต�่า ๓๐๐ บาท สูงหรือต�่าในกลุ่มอาเซียน” เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ (http://money.sanook.com/285925/)
100