Page 126 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 126

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘




                ๔  การประเมินสถานการณ์



              สถานการณ์ด้านสิทธิด้านสุขภาพในปี ๒๕๕๘ กสม. เห็นว่า รัฐบาลได้มีความพยายามที่จะด�าเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การ
              ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพบรรลุผลเป็นจริง โดยมีการประกันสิทธิด้านสุขภาพ ด้วยการสร้างความก้าวหน้าในการ
              ด�าเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ครอบคลุมประชาชนชาวไทยร้อยละ ๙๙.๙๒ ของประชากรทั้งหมดของประเทศ
              โดยผ่านระบบการบริหารจัดการโดยรัฐ ๓  ระบบ  ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการ
              ข้าราชการ รวมทั้งรัฐบาลได้พยายามแสวงหาแนวทางที่ยั่งยืนในการให้บริการด้านสุขภาพที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
              ของประเทศที่จะเข้าสู่สภาวะคนสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยอาจให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการบริหารจัดการ
              ระบบการให้บริการด้านสุขภาพในรูปแบบประกันสุขภาพเอกชน เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเลือกการท�าประกันสุขภาพเป็นทางเลือก
              ใหม่ในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการด้านสุขภาพให้กับตนเอง หรือท�าให้กับบิดา มารดา หรือคู่สมรส โดยอาจได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษี
              เช่นเดียวกับการซื้อประกันชีวิตเป็นประโยชน์ต่างตอบแทน อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มนักวิชาการด้านสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องยังได้แสดง
              ความเห็นด้วยในการน�าระบบการให้บริการด้านสุขภาพไปอยู่ในระบบประกันเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการให้บริการขั้นพื้นฐาน
              คุณภาพและต้นทุนการบริหารจัดการ


              นอกจากนี้ รัฐบาลได้พัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยจัดท�าแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย  บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
              พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๓ แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษก�าลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๙ และแผนยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพ
              เขตเมือง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในระบบสุขภาพ การสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรด้านสุขภาพให้เข้มแข็งโดยมีก�าลังคน
              ที่เพียงพอในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับสิทธิที่ดี
              ในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ รวมทั้งได้มีความพยายามด�าเนินการต่าง ๆ เพื่อยืนยันว่าสิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิที่สามารถจะบรรลุผล
              ได้จริง และมีความก้าวหน้าในการท�าให้ประชาชนชาวไทยเกิดสิทธิที่ดีขึ้นในการเข้ารับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ โดย


              •  การน�ากระบวนการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล          ในวัยรุ่น ผ่านการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การป้องกัน
              (Hospital Accreditation) มาใช้ในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ  และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗
              การบริการให้ดีขึ้น                                  และการตรา “(ร่าง) พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไข
                                                                  ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ....”
              •  การพัฒนาการบริหารจัดการในระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน
              โดยให้สถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน หรือ  •  การมีแนวโน้มที่จะรับรองสิทธิในการเข้าถึงการเยียวยา
              อุบัติเหตุ เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลโดยตรง (Emergency Claim    จากรัฐ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล
              Online: EMCO) กับส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้  ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยกระทรวงสาธารณสุข
              ประชาชนเกิดสิทธิในการเข้ารับบริการอย่างทันท่วงทีในกรณีจ�าเป็น  ได้ด�าเนินการ (ร่าง) ตราพระราชบัญญัติกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับ
              และเร่งด่วน โดยมิต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล  ผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....

              •  การน�าหลักการบริหารแบบกระจายอ�านาจมาใช้ในการ
              บริหารจัดการด้านสุขภาพ ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
              โดยสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาบริหาร
              การจัดการการบริการด้านสุขภาพ  ซึ่งประชาชนจะเข้าถึง
              การให้บริการได้ง่ายขึ้น
              •  การจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวง
              สาธารณสุขทั่วประเทศไทย ท�าให้กลุ่มวัยรุ่นสามารถเข้าถึงสิทธิ
              ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ได้ดีขึ้น  ซึ่งการ
              ด�าเนินการดังกล่าวนี้สอดคล้องกับนโยบายการป้องกันและแก้ไข
              เชิงบูรณการในประเด็นการตั้งครรภ์และการยุติการตั้งครรภ์





                                                                                                           96
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131