Page 125 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 125

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ปี ๒๕๕๘




                                                             ส�าหรับสถานการณ์ด้านสิทธิด้านสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่น รัฐบาล
                                                             ด�าเนินการแก้ไขกรณีการตั้งครรภ์และการยุติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
                                                             อย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการพัฒนาอนามัยและการเจริญ
                                                             พันธุ์แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติที่ประชุมเมื่อวันที่
                                                             ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก
                                                             และเยาวชนแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
                                                             ของมนุษย์ ขับเคลื่อนสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ตามแผนยุทธศาสตร์
                                                             ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณการ
                                                             พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งบรรจุเนื้อหารายละเอียดของ “(ร่าง) พระราชบัญญัติ
                                                             คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. .…” ไว้ในแผนฯ ดังกล่าว และต่อมา
                    กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอ “ร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ....”
                    โดยได้บูรณาการแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๘ เข้าไว้ในร่างพระราช
                    บัญญัติฉบับนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๘  โดยร่างพระราชบัญญัติ
                    ฉบับนี้ ก�าหนดให้มีคณะกรรมการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีอ�านาจหน้าที่ก�าหนดและเสนอนโยบาย
                    และยุทธศาสตร์การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรี ประสานงาน ติดตาม ประเมินผล และร่วมมือกับหน่วยงาน
                    ของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องให้มีการด�าเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
                    เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีสิทธิในการเข้ารับบริการด้านอนามัยเจริญพันธ์ุจากรัฐอย่างเสมอภาค ทั่วถึง และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ  ๑๔๖

                        นอกจากนี้ การจัดท�าร่างแผนเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗
                    จะเป็นการด�าเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในระยาวเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น และให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึง
                    สิทธิในการรับบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ และสามารถป้องกัน
                    การตั้งครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย โดยมีเป้าหมายที่จะลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลงกึ่งหนึ่งภายใน
                    ปี ๒๕๖๗ ให้เหลือ ๒๕.๖ คน ต่อประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน (เมื่อเทียบอัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น
                    ในปี ๒๕๕๖ คือ ๕๑.๒ คน ต่อประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน) โดยใช้อัตราการคลอดของวัยรุ่นระหว่าง
                                      ๑๔๗
                    อายุ ๑๕-๑๙ ปีเป็นตัวชี้วัด  ที่ผ่านมามีคลินิกวัยรุ่นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จ�านวน
                    ๔๒๙ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๕๑ ของโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมดที่ให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ โดยคาดว่า
                    ในปี ๒๕๖๐ จะสามารถจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ การที่วัยรุ่น
                    สามารถเข้าถึงสิทธิในอนามัยเจริญพันธุ์จากการให้บริการของคลินิกวัยรุ่น คาดว่าจะท�าให้อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่น
                    อายุ ๑๕-๑๙ ปี ลดลงเหลือไม่เกิน ๕๐ คน ต่อประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน ในปี ๒๕๖๐ ได้
                                                                                                ๑๔๘
                        สิทธิในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพนั้นไม่เพียงแต่เป็นสิทธิของประชาชนชาวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิของทุกคน
                    ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีจึงได้มติเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ คืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กับชนกลุ่มน้อย
                    และบุตรที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิบุคคล จ�านวนรวมทั้งสิ้น ๒๐๘,๖๓๑ คน
                    โดยจ�าแนกเป็น (๑) ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย จ�านวน ๑๕๐,๐๗๖ คน (๒) บุตรของชนกลุ่มน้อยดังกล่าว
                    จ�านวน ๕๖,๖๗๒ คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของยุทธศาสตร์การจัดสถานะและสิทธิในการบริการสาธารณสุขของบุคคล
                    ไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ และ (๓) กลุ่มบุคคลอื่น ๆ ที่ได้รับการส�ารวจและการจัดท�าทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา
                    สถานะและสิทธิบุคคล จ�านวน ๑,๘๘๓ คน รวมถึงการด�าเนินการประกันสุขภาพให้กับแรงงานคนต่างด้าว ๔ สัญชาติ ได้แก่
                    เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยและผู้ติดตาม รวมทั้งสิ้น ๑,๗๔๘,๕๐๕ คน โดยท�าการตรวจสุขภาพ
                    และจัดท�าประกันสุขภาพ จ�าแนกเป็น แรงงานต่างด้าวที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จ�านวน ๒,๓๙๔ คน และแรงงานต่างด้าว
                    และผู้ติดตามสัญชาติเมียนมา จ�านวน ๙๔๔,๓๕๕ คน สัญชาติกัมพูชา ๖๐๙,๗๘๕ คน และสัญชาติลาว ๑๙๔,๓๖๕ คน  ๑๔๙



        ๑๔๖  ข่าวส�านักงานรัฐมนตรี ๓๒๐/๒๕๕๘
        ๑๔๗  (ร่าง) ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๗
        ๑๔๘  ข่าวสุขภาพ เรื่องส่งเสริม “คลินิกวัยรุ่น” ลดจ�านวนแม่วัยใส วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ http://www.thaihealth.or.th/Content/28247
        ๑๔๙  นโยบายข้อ ๕ การยกระดับคุณภาพและบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน รายงานผลการด�าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครบรอบ ๑ ปี
        (๑๒ กันยายน ๒๕๕๗- ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘)
         95
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130