Page 68 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 68
ผู้ลี้ภัยและชีวิตความเป็นอยู่
๙. การบริหารจัดการและการดูแลในค่ายผู้ลี้ภัย
ค่ายผู้ลี้ภัยจะมีระบบการบริหารจัดการคล้ายคลึงกัน นั่นคือการให้ผู้ลี้ภัยดูแลกันเอง โดยการสนับสนุนงบประมาณ
จากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ในแต่ละค่ายผู้ลี้ภัยจะมีหัวหน้าค่าย (Camp Leader) เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย และประสานงาน
กับหน่วยงานราชการและหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เช่น TBC IRC แต่ละเขตจะมี
หัวหน้าเขต (Section Leader) จ�านวนเท่ากับเขตที่มีอยู่ เช่น ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย มี ๒๐ เขต จะมีหัวหน้าเขต ๒๐ คน
ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหินมี ๑๖ เขต จะมีหัวหน้าเขตจ�านวน ๑๖ คน หัวหน้าเขตจะท�าหน้าที่ช่วยชี้แจงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก
ในเขต การเดินทางเข้า-ออกค่ายจะต้องรายงานให้หัวหน้าเขตทราบ ในหนึ่งเขตจะมีผู้ช่วยหัวหน้าเขตอีก นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการ
ค่าย (Camp Committee) ซึ่งจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับองค์กรที่มาให้ความช่วยเหลือ เช่น TBC โดยช่วยแจกจ่ายสิ่งของเหล่านั้น
การดูแลความปลอดภัยภายในค่าย จะมีหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Camp Security เดินลาดตระเวนดูแลความปลอดภัย
หรือเมื่อมีเหตุทะเลาะกัน จะต้องเข้าไปดูแล ทั้งหมดนี้จะอยู่ในความควบคุมของ KRC และ KnRC ซึ่งมีส�านักงานหลักอยู่ภายนอกค่าย
ผู้ลี้ภัย แต่ละเดือนหัวหน้าค่ายจะเข้าร่วมประชุมเพื่อรับรู้สถานการณ์การเคลื่อนไหวภายนอก เช่น การเยี่ยมเยียนของบุคคลหรือหน่วย
งานภายนอก การตรวจนับจ�านวนประชากร การด�าเนินโครงการวิจัย การเข้าด�าเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในค่ายผู้ลี้ภัย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับต�าแหน่งข้างต้น ล้วนเป็นผู้ชาย อย่างไรก็ตาม มีองค์กรผู้หญิงที่ท�างานเพื่อ
ช่วยเสริมศักยภาพสตรี คือ KWO และ KnWO ในแต่ละค่ายผู้ลี้ภัยจะมีเจ้าหน้าที่ของทั้งสององค์กรนี้ด้วย ขณะเดียวกันจะมีองค์กรหลัก
ที่ตั้งอยู่ภายนอกค่ายผู้ลี้ภัยด้วยเช่นเดียวกับ KRC และ KnRC
โครงสร้างการจัดการนี้ คล้ายกับว่าผู้ลี้ภัยจะสามารถก�าหนดทิศทาง และควบคุมกันเองได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
การด�าเนินการทุกอย่างยังอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย เช่น กรณีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในค่ายผู้ลี้ภัย ต้องได้รับอนุญาต
จากกระทรวงมหาดไทย แต่ด้านงบประมาณได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการโดยผู้ลี้ภัยนี้ พบปัญหา ดังนี้
• ความไม่เชื่อฟังหัวหน้าเขต คณะกรรมการค่าย รวมไปถึงหัวหน้าค่ายด้วย ในบางค่ายผู้ลี้ภัยมีประชากรอยู่จ�านวน
มากและมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ จนปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่เกิดในค่ายผู้ลี้ภัยนี้อาจจะเป็นคนรุ่นที่ ๓ แล้วก็ได้ รวมทั้งมี
ผู้มาใหม่อยู่เรื่อย ๆ ท�าให้การควบคุมพฤติกรรม และการบังคับใช้กฎระเบียบมีความยากล�าบากมากขึ้น หัวหน้าค่ายแห่งหนึ่งได้เปรียบ
เปรยว่า “คนอยู่ได้กินได้ก็มี บางคนกินกาแฟไม่ใส่น�้าตาล ใส่แต่นม บางคนจะกินชาแต่ซื้อไม่ได้ก็มีอีก” เป็นการกล่าวถึงผู้ที่อาศัยในค่าย
ผู้ลี้ภัย บางคนก็อยู่ได้ไม่สร้างความเดือดร้อน บางคนต�าหนิการจัดการของหัวหน้าค่าย เมื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ บางคนอยากได้
โน้นนี่ แต่ไม่ออกแรงอะไรเลย อาจกล่าวได้ว่า ผู้ลี้ภัยก็มิได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด หรือเป็น
ผู้ที่น่าสงสาร น่าเห็นอกเห็นใจเสมอไป บางคนก็เอาเปรียบผู้อื่น กินเหล้า ไม่ท�างาน เป็นต้น
ความไม่เชื่อฟังกัน เช่นนี้ได้กลายเป็นข่าวลือในค่ายว่า ค่ายผู้ลี้ภัยจะปิดลงภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
๑. ไม่มีคณะกรรมการค่าย หัวหน้าค่าย
๒. หากผู้ลี้ภัยยังฝ่าฝืนกฎระเบียบอยู่เรื่อย ๆ
๓. เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศลดลง
๔. ข้อตกลงระหว่างรัฐไทยกับพม่า/เมียนมาร์
กรณีดังกล่าวจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่ได้ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการในค่ายผู้ลี้ภัยมีปัญหาอยู่ไม่มากก็น้อย
• การส่งผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สาม คนหนุ่มสาวที่มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้น มีการศึกษามักจะเป็นที่หมายตา
ของหัวหน้าค่ายให้รับช่วงงานการดูแลในค่ายผู้ลี้ภัย แต่พบว่า คนเหล่านี้มักเลือกที่จะไปประเทศที่สาม จึงท�าให้มีผลต่อ “การพัฒนา”
ค่ายผู้ลี้ภัย
• เงินเดือนค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะต�าแหน่งผู้รักษาความปลอดภัย ซึ่งต้องการผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง นั่นคือ
ผู้ชายอายุระหว่าง ๒๕-๕๐ ปี แต่พบว่า ค่ายผู้ลี้ภัยบางแห่งมีแต่ผู้ชาย วัยอายุ ๔๕ ปี ขึ้นไป ซึ่งไม่มีก�าลังและความแข็งแรงในการดูแล
ความสงบเรียบร้อยมากนัก
54 55
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว