Page 55 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 55
บทที่ ๓
ผู้ลี้ภัย
และชีวิตความเป็นอยู่
๑. ผู้ลี้ภัย คือใคร
พื้นที่พักพิงชั่วคราวนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่า
ด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ (Convention Relating to the Status of Refugees 1951) ซึ่งหมายถึงว่า ประเทศไทยไม่ยอมรับ
ว่ามีผู้ลี้ภัยอยู่ในประเทศตนเอง ดังนั้น คนเหล่านี้จึงถูกนิยามว่า เป็นผู้หนีภัยสงคราม ความหมายของค�าว่า “หนีภัยสงคราม” คือ เมื่อ
เหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศต้นทางสิ้นสุดลงแล้ว คนเหล่านี้จะต้องถูกส่งกลับยังประเทศตนเอง การดูแลคนเหล่านี้จึงเป็นตาม
หลักมนุษยธรรม กล่าวคือ การให้อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การศึกษา พอเพียงแก่การด�ารงชีพ
ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ที่อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยจะได้รับทุกสิ่งทุกอย่างตามที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดสรรให้ มิใช่ตามก�าลังความสามารถ และ
ความรู้ของแต่ละคนที่จะหามาได้ ทุกคนจะได้ทุกสิ่งที่เท่ากันเหมือนกันตามการจัดสรรของหน่วยงาน เช่น ข้าวสารได้รับคนละ ๘ กิโลกรัม
ที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งก่อสร้างแบบไม่ถาวร เป็นวัสดุธรรมชาติ หลังคามุงด้วยใบตองตึง บางแห่งคลุมทับด้วยพลาสติกสีด�า ตัวบ้านสร้างด้วย
ไม้ไผ่ เครื่องนุ่งห่มก็ได้รับมาด้วยการบริจาค เช่นเดียวกับยาและการศึกษา เป็นไปตามการจัดสรรของหน่วยงานภายนอก โดยทั่วไป
ผู้ลี้ภัยนี้จะไม่สามารถออกนอกพื้นที่ค่ายได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากปลัดอ�าเภอก่อน บางคนอาจจะหลบหนีไปโดยไม่ได้ขออนุญาต
ก็จะถูกจับกุม ถูกตั้งข้อหาเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
42 43
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว