Page 99 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 99
เชื่อมโยงระหว่างกองบัญชาการ/ตํารวจภูธรภาค และระหว่างประเทศตามที่ผู้อํานวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก
สตรี ครอบครัว และปูองกันปราบปรามการค้ามนุษย์ สํานักงานตํารวจแห่งชาติมอบหมาย
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๒ ถึง ๖ มีหน้าที่รับผิดชอบกํากับดูแลด่านตรวจคนเข้าเมืองทุก
แห่งในความรับผิดชอบ ในการตรวจสอบ ปูองกันและแก้ไขป๎ญหาคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตาม
กฎหมาย และที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองมิให้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ รวมทั้งการคัดแยกเหยื่อ
การค้ามนุษย์ออกจากผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง
ข้อจํากัดของสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองที่สําคัญ คือ บุคลากร หรือเจ้าหน้าที่มีจํานวนน้อย
ประกอบกับบุคลากรไม่มีองค์ความรู้ จึงทําให้ไม่สามารถดําเนินการเรื่องการค้ามนุษย์ได้บรรลุผลสําเร็จ
เท่าที่ควร
ป๎ญหาอุปสรรคของสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่
สําคัญ สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
๑) การพิสูจน์สัญชาติไม่สามารถทําได้อย่างชัดเจน ทําให้ต้องกักตัวไว้ก่อนส่งกลับ หรือไปยัง
ประเทศที่สาม โดยเฉพาะชาวโรฮิงญาในทางใต้ที่ต้องถูกกักอยู่ในห้องขังสี่เหลี่ยม และหากกระบวนการใน
การให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างล่าช้า หรือมีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนก็จะยิ่งทําให้คนเหล่านี้ต้องถูกกักเป็น
เวลานาน ซึ่งใช้เวลาร่วมปี หรือมากกว่า ๑ ปีขึ้นไป ดังนั้น การถูกกักเป็นเวลานานอยู่ภายในห้องสี่เหลี่ยม
มีลูกกรงขัง มีบริเวณให้เดินเคลื่อนย้ายไม่มากนัก จึงเป็นผลทําให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถ
เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเป็นปกติ
๒) ผู้เสียหายแอบแฝงเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเข้าสู่กระบวนการ
ค้ามนุษย์ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างชัดเจน เพราะผู้เสียหายส่วนใหญ่มักถูกหลอก ล่อลวง
และแนวโน้มจิตใจเพื่อให้ความร่วมมือกับผู้ประกอบการเป็นอย่างดี อีกทั้งกระบวนการติดตามผู้เสียหาย
เมื่อผ่านด่านเข้ามาแล้วไม่สามารถทําได้อย่างเต็มที่ และผู้เสียหายเองก็เข้ามาอย่างถูกต้อง มีหลักฐาน
เอกสารครบถ้วนจากประเทศต้นทาง
(๕) กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ มีภารกิจเกี่ยวกับการดําเนินงานและการส่งเสริม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนในฐานะ
สํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ เพื่อดําเนินงานความร่วมมือของอาเซียนให้สําเร็จและบรรลุผลตามมติที่
ประชุมสุดยอดและเปูาหมายของการจัดตั้งอาเซียน ตลอดจนกฎบัตรอาเซียน และเสริมสร้างความเข้มแข็ง
และขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ ตลอดจนเพิ่มอํานาจต่อรองของ
ประเทศไทยในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
กรมอาเซียนได้กําหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ก้าวทันอาเซียน มุ่งรักษา พัฒนา และส่งเสริม
ผลประโยชน์ไทยในภูมิภาค”
พันธกิจของกรมอาเซียนมี ๕ ประการ คือ
(๑) รักษาและส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในอาเซียน
(๒) สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในมิติ
ต่างๆ เพื่อสนับสนุนเปูาหมาย การเป็นประชาคมอาเซียนที่มีกฎกติกาในการทํางาน มี
ประสิทธิภาพและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
๗๙